ค้นหาข้อมูลจากบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

ซาโลมอน เขียนสุภาษิตในบทที่ 7 กล่าวถึงพฤติกรรมเหล่าภรรยาของตน


ข้อ 1 บุตรชายของเราเอ๋ย จงรักษาถ้อยคำของเรา
จงสะสมบัญญัติของเราไว้กับเจ้า
ข้อ 2 จงรักษาบัญญัติของเรา และดำรงชีวิตอยู่
จงรักษาคำสอนของเราอย่างกับแก้วตาของเจ้า
ข้อ 3 มัดมันไว้ที่นิ้วมือของเจ้า
เขียนมันไว้บนแผ่นจารึกแห่งใจของเจ้า
ข้อ 4 จงพูดกับปัญญาว่า
“เธอเป็นพี่สาวของฉัน”
และจงเรียกความรอบรู้ว่า
“เพื่อนสนิท”
ข้อ 5 เพื่อปัญญานี้จะพิทักษ์เจ้าไว้ให้พ้นจากหญิงชั่ว
จากหญิงสัญจรที่พูดจาพะเน้าพะนอ
ข้อ 6 เพราะที่หน้าต่างบ้านของเรา
เราได้มองออกไปตามบานเกล็ด
ข้อ 7 เราเห็นว่าท่ามกลางคนเขลา
และท่ามกลางคนหนุ่มๆที่เราพิเคราะห์ดูนั้น
ก็มีหนุ่มคนหนึ่งไร้สามัญสำนึก
ข้อ 8 ผ่านไปตามถนนใกล้ทางแยกไปบ้านของนาง
เดินตามถนนซึ่งไปบ้านนาง
ข้อ 9 ในเวลาโพล้เพล้ ในเวลาเย็น
เวลาค่ำคืนและความมืด
ข้อ 10 และนี่แน่ะ หญิงคนหนึ่งมาพบเขา
แต่งตัวอย่างหญิงแพศยาหัวใจเจ้าเล่ห์
ข้อ 11 นางจัดจ้านและหัวเห็ด
เท้าของนางไม่อยู่กับบ้าน
ข้อ 12 ประเดี๋ยวอยู่ถนน ประเดี๋ยวอยู่ที่ลานเมือง
และนางหมอบคอยอยู่ทุกมุม
ข้อ 13 นางฉวยเขาได้และจุบเขา
นางพูดกับเขาอย่างไม่มียางอายว่า
ข้อ 14 “ฉันจำต้องถวายเครื่องสักการบูชา
และวันนี้ฉันได้แก้บนแล้ว
ข้อ 15 ฉันจึงออกมาหาเธอ
เสาะเธอ และฉันพบเธอแล้ว
ข้อ 16 ฉันได้ประดับเตียงของฉันด้วยผ้าคลุม
เป็นผ้าลินินอียิปต์สีต่างๆ
ข้อ 17 ฉันได้อบที่นอนของฉันด้วยมดยอบ
กฤษณา และอบเชย
ข้อ 18 มาเถอะ ให้เรามาอิ่มด้วยความรักจนรุ่งเช้า
ให้เราทำตัวของเราให้ปีติยินดีด้วยความรัก
ข้อ 19 เพราะผัวของฉันไม่อยู่บ้าน เขาไปทางไกล
ข้อ 20 เขาเอาเงินไปถุงหนึ่ง
พอวันเพ็ญเขาจึงกลับมา”
ข้อ 21 นางหว่านล้อมด้วยวาจาโอ้โลม
นางบังคับเขาด้วยคำพูดพะเน้าพะนอ
ข้อ 22 เขาก็ติดตามนางไปทันที
อย่างวัวตัวผู้ไปสู่การฆ่า
หรืออย่างกวางติดแน่น
ข้อ 23 จนลูกธนูปักเข้าไปถึงตับ
อย่างนกรนเข้าไปหาบ่วง
เขาหาทราบไม่ว่า นี่มีค่าถึงชีวิต
ข้อ 24 โอ บุตรชายเอ๋ย บัดนี้จงฟังเรา
และจงตั้งใจต่อถ้อยคำจากปากของเรา
ข้อ 25 อย่าให้ใจของเจ้าหันไปตามทางของนาง
อย่าเจิ่นอยู่ในวิถีของนางนั้น
ข้อ 26 เพราะนางได้ฟัดเหยื่อลงเสียเป็นอันมาก
เออ บรรดาที่นางฆ่าเสียนั้นก็เป็นจำนวนมากมาย
ข้อ 27 เรือนของนางเป็นทางไปสู่แดนผู้ตาย
ลงไปถึงห้วงแห่งความตาย


ในข้อ 14 “ฉันจำต้องถวายเครื่องสักการบูชา และวันนี้ฉันได้แก้บนแล้ว" คือลักษณะของการไหว้รูปเคารพรูปแบบหนึ่ง คือการล่วงประเวณี ในสมัยซาโลมอน น่าจะมีการกราบไหว้รูปเคารพมากกว่าสมัยใดๆ เลยก็ว่าได้ และยังสร้างเสาสูงตรงข้ามเยรูซาเล็มไว้อีกด้วย

ใน 1 พกษ. 11 ข้อ 7 แล้วซาโลมอนได้ทรงสร้างปูชนียสถานสูงสำหรับพระเคโมช สิ่งที่น่าสะอิดสะเอียนของโมอับ ในภูเขาที่อยู่ตรงข้ามเยรูซาเล็ม

ซาโลมอนมีโอกาสพลาดถึง 1,000 เท่าที่จะหลงเจิ่นไป

ใน สภษ.1:1 สุภาษิตของซาโลมอน พระราชาแห่งอิสราเอล โอรสของดาวิดทรงพระราชนิพนธ์ไว้ และใน บทที่ 25 ข้อ 1 ต่อไปนี้เป็นสุภาษิตของซาโลมอนด้วยเหมือนกัน ซึ่งคนของเฮเซคียาห์ พระราชาแห่งยูดาห์ได้คัดลอกไว้ และใน 1 พกษ บทที่ 4 ข้อ 32 พระองค์ตรัสสุภาษิตสามพันข้อด้วย และบทเพลงของพระองค์มีหนึ่งพันห้าบท นั่นหมายความว่า ซาโลมอนแต่งสุภาษิตเองด้วย

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

การตีความพระคัมภีร์จากพระกิตติคุณพ้อง เรื่องผู้หญิงกับน้ำมันหอมนารดา


พระกิตติคุณพ้อง 3 เล่ม มัทธิว บทที่ 26 ข้อ 6-13 มาระโก บทที่ 14 ข้อ 3-9 และยอห์น บทที่ 12 ข้อ 1-8 เรื่องหญิงคนหนึ่งกับน้ำหอมนารดาราคาแพง

หลักการเดียวกับการสืบพยาน เพราะแต่ละคนพูดไม่เหมือนกัน 100% แต่เล่าเรื่องสอดคล้องกัน ทั้งสถานที่ บุคคล และบทสนทนา

บทสรุปทางขวามือมาจากข้อมูลจากผู้เล่าทั้งสามคน มัทธิว และมาระโกสนใจบทสนทนามากกว่าระบุชื่อบุคคล ในขณะที่ยอห์นระบุชื่อบุคคลค่อนข้างละเอียดกว่าคนอื่น เขาระบุชื่อคนถึง 5 คน (ลาซารัส, มารธา, มารีย์, ยูดาสอิสคาริโอท และพระเยซู)

พระเยซูไปอีกสถานที่หนึ่ง แต่เหตุการณ์ซ้ำก็เกิดขึ้นอีก

หญิงล่วงประเวณีที่ไม่ได้ระบุชื่อ
แต่ดูเรื่องด้านบน ยอห์นเป็นคนที่ชอบระบุชื่อคน
มารีย์ ชาวมักดาลา ถูกยัดตำแหน่งหญิงโสเภณี
ในเหตุการณ์นี้ และภาพยนตร์ทุกเรื่องก็มักจะสื่อเช่นนั้น

เหตุการณ์ตอนนี้ถูกต้องตามพระคัมภีร์
ยกเว้นเรื่องมารีย์ชาวมักดาลาคือโสเภณี

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

"อับราม" ออกจากเมืองเออร์ สู่คานาอัน และอียิปต์


"อับราม" ออกจากเมืองเออร์เพราะเมืองนั้นนมัสการเทพเจ้าแห่งดวงจันทร์ ดวงดาว และดวงอาทิตย์ ตามคำท้าทายของพระเจ้า

ในปฐมกาล บทที่ 12 ข้อ 1 พระเจ้าตรัสแก่อับรามว่า “เจ้าจงออกจากเมือง จากญาติพี่น้อง จากบ้านบิดาของเจ้า ไปยังดินแดนที่เราจะบอกให้เจ้ารู้
ข้อ 2 เราจะให้เจ้าเป็นชนชาติใหญ่ เราจะอวยพรแก่เจ้า จะให้เจ้ามีชื่อเสียงใหญ่โตเลื่องลือไป แล้วเจ้าจะช่วยให้ผู้อื่นได้รับพร
ข้อ 3 เราจะอำนวยพรแก่คนที่อวยพรเจ้า เราจะสาปคนที่แช่งเจ้า บรรดาเผ่าพันธุ์ทั่วโลกจะได้พรเพราะเจ้า”
ข้อ 4 ฝ่ายอับรามก็ไปตามพระดำรัสของพระเจ้า โลทก็ไปด้วย เมื่ออับรามออกจากเมืองฮารานนั้น อายุได้เจ็ดสิบห้าปี
ข้อ 5 อับรามพานางซารายภรรยาของตน กับโลทบุตรของน้องชายและทรัพย์สมบัติที่ได้สะสมไว้ ทั้งบรรดาผู้คนที่ได้ไว้ที่เมืองฮารานนั้นออกเดินทาง ไปยังแผ่นดินคานาอัน เมื่อไปถึงแคว้นคานาอันแล้ว
ข้อ 6 อับรามก็เดินผ่านเขตแดนมาถึงสถานที่เมืองเชเคม คือ ที่ต้นก่อหลวง ณ โมเรห์ คราวนั้นคนคานาอันอยู่ที่แผ่นดินนั้น
ข้อ 7 พระเจ้าทรงสำแดงพระองค์ให้ปรากฏแก่อับราม ตรัสว่า “ดินแดนนี้เราจะยกให้พงศ์พันธุ์ของเจ้า” อับรามสร้างแท่นที่นั่นถวายบูชาแก่พระเจ้าผู้สำแดงพระองค์ ให้ปรากฏแก่ท่าน
ข้อ  8 อับรามย้ายไปจากที่นั่น  มาถึงภูเขาทางทิศ ตะวันออกของเมืองเบธเอล   จึงตั้งเต็นท์อยู่ที่นั่น   ให้เมืองเบธเอลอยู่ทางทิศตะวันตกและเมืองอัยอยู่ทิศตะวันออก   ส่วนท่านสร้างแท่นบูชาพระเจ้าที่นั่น   และนมัสการออกพระนามพระเจ้า

นับเป็นการท้าทายอย่างมากกับการที่อับรามต้องออกจากบ้านเกิดเมืองนอนที่เมืองเออร์ ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์เพราะมีแม่น้ำไทกริส และแม่น้ำยูเฟรติส อับรามคงไม่นิยมการบูชาเทพเจ้าจึงยอมออกจากเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปยังดินแดนอื่นที่ไม่รู้จัก


แม้แต่อับรามก็เคยกลัวตายเหมือนกัน

ในปฐมกาล บทที่ 12 ข้อ 9 แล้วอับรามก็เดินทางต่อไป ยกเต็นท์เดินทางเรื่อยไปเป็นระยะๆยังเนเกบ (ที่ใต้ เมืองใต้)
ข้อ 10 เกิดกันดารอาหารที่แคว้นคานาอัน อับรามจึงไปอาศัยอยู่ที่ประเทศอียิปต์ ด้วยว่าในคานาอันอดอยากอาหารนัก
ข้อ 11 เมื่อใกล้จะเข้าอียิปต์ อับรามก็พูดกับนางซารายภรรยาว่า “ฉันรู้ว่าเจ้าเป็นหญิงรูปงาม
ข้อ 12 เมื่อคนอียิปต์เห็นเจ้า เขาจะว่า 'หญิงคนนี้เป็นภรรยาของเขา' แล้วก็จะฆ่าฉันเสีย แต่จะไว้ชีวิตเจ้า
ข้อ 13 ขอให้บอกว่าเจ้าเป็นน้องสาวของฉัน เพื่อฉันจะได้รับการต้อนรับอย่างดีเพราะเจ้า และเขาจะไว้ชีวิตฉันเพราะเจ้า”
ข้อ 14 เมื่ออับรามเข้าไปในอียิปต์แล้ว คนอียิปต์ก็เห็นว่านางมีรูปร่างงามนัก
ข้อ 15 เมื่อพวกจ้านายของฟาโรห์ (พระราชาทุกๆ องค์ของอียิปต์ มิใช่พระนามเฉพาะ) เห็นนางแล้ว ก็ทูลยกย่องนางนั้นให้ฟาโรห์ทราบ เขาจึงพานางไปอยู่ในวังของฟาโรห์
ข้อ 16 ฝ่ายฟาโรห์ก็โปรดปรานอับรามมากเพราะเห็นแก่นางนั้น อับรามก็ได้แกะ วัว ลาผู้ ทาส ทาสี ลาตัวเมีย และอูฐจำนวนมาก
ข้อ 17 แต่พระเจ้าทรงทำให้เกิดภัยพิบัติร้ายแรงต่างๆ แก่ฟาโรห์ และราชวงศ์ของท่าน เพราะเรื่องนางซารายภรรยาของอับราม
ข้อ 18 ฟาโรห์จึงเรียกอับรามมา ตรัสว่า “ทำไมเจ้าทำแก่เราอย่างนี้เล่า ทำไมเจ้ามิได้บอกเราว่านางเป็นภรรยาของเจ้า
ข้อ 19 ทำไมเจ้าว่า 'เธอเป็นน้องสาวของข้าพระบาท' เราจึงเลี้ยงนางไว้เพื่อเป็นภรรยาของเรา นี่แน่ะภรรยาของเจ้า จงรับไปแล้วออกไปเถิด”
ข้อ 20 ฟาโรห์จึงรับสั่งให้พวกคนใช้เอาใจใส่อับราม พวกคนใช้จึงนำอับรามเดินทางกลับไป พร้อมกับภรรยาและทรัพย์สมบัติทั้งหมดของท่าน

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาพวาด "The Last Supper" ของศิลปินคนอื่นๆ ที่ไม่ใช่ดาวินชี

ผลงานภาพวาดที่เกี่ยวข้องกับคริสตศาสนานั้น มาจากการว่าจ้างของขุนนาง เศรษฐี และนักบวชระดับสันตปาปา ศิลปินเพียงทำหน้าที่ของตน และทำงาน ซึ่งแต่ละภาพย่อมมีทัศนะของศิลปินอยู่บ้าง และอิงกับข้อพระคัมภีร์ที่จะวาดด้วย

หนังสือการ์ตูนเล่มนี้เล่าเรื่องประวัติของดาวินชี

ตอนนี้กำลังเล่าถึงที่มาของภาพ The Last Supper

ภาพร่าง ผลงานของดาวินชี

ภาพร่างก่อนวาด ดาวินชีวางแผนก่อนเสมอ


ผลงานของ Domenico Ghirlando (1482) วาดก่อนดาวินชี 13 ปี

แนวคิดของภาพมาจาก ยอห์น บทที่ 13 ข้อ 21-29

ผลงานของ Andrea del Castagno (1477) วาดก่อน 18 ปี

เล่าเรื่องเหมือนๆ กัน ซึ่งยอห์นต้องนอนแบบนี้เสมอ
ตามการตีความจากพระคัมภีร์

ผลงานของ Pietro Perugino (1480) วาดก่อน 15 ปี

ศิลปินทุกคนจะยึดแนวทางนี้วาดภาพแบบนี้

ภาพสเก็ตของดาวินชี

ภาพสเก็ตอีกภาพ

ผลงานของ Cosimo Rosslli (1481-1482) วาดก่อน 12-13 ปี

ดาวินชีมีผู้ช่วยในการวาด และไม่ได้วาดเพียงผู้เดียว
ยังมีศิลปินอีกคนวาดในฝั่งตรงข้าม


ภาพฝั่งตรงข้ามมีชื่อว่้า "Crucifixion" (1495)
เป็นผลงานของ Gioranni Bellini (1430-1516)

ภาพของดาวินชี วาดอยู่ที่โรงอาหารโบสถ์
ซานตามาเรีย เดอกราซิเอ ตามคำสั่งของ ลูโดวิโก

ผลงานของ Giovanni Battista Moroni

ผลงานของ Jaume Huguet

ผลงานของ Jacopo Bassano

ผลงานของ Valentin de Boulogne

ผลงานของ Jean Penicaud I

ผลงานของ Bouts Dirk Louvain

ผลงานของ William Blake

ถอดรหัสภาพวาดดาวินชี

ถอดรหัสภาพวาดของลีโอนาโด ดา วินชี  "เดอะ ลาส ซัปเปอร์" เรามาดูกันว่าเหตุผลที่ภาพในชื่อนี้เอาแนวคิดการวาดมาจากไหนในพระคัมภีร์ และคนไหนคือใครในภาพ เชิญมาศึกษาร่วมกันได้เลยครับ










วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

แกะรอยมารีย์ ชาวมักดาลา (ดิฉันมิใช่โสเภณี)

เมื่อเราเรียนพระคัมภีร์หรือฟังคำเทศนาเกี่ยวกับหญิงโสเภณีที่นำน้ำมันหอมนารดามาชโลมที่เท้าของพระเยซู หลายคนก็นึกถึงหญิงโสเภณีทันที และหนังเกี่ยวกับพระเยซูหลายเรื่องก็อ้างถึงเธอเหมือนกัน โดยสรุปไปเลยว่าเธอคือหญิงโสเภณี แต่พอมาศึกษาอย่างละเอียด โดยการค้นหาจากข้อพระคัมภีร์และเปรียบเทียบจะพบว่า เธอไม่เกี่ยวอะไรกับโสเภณีเลย

ลองมาดูข้อมูลเหล่านี้กันครับ

คำถามที่ไม่ค่อยมีใครสนใจ
จนหนังสือเรื่อง "ดาวินชีโค้ด" บอกว่าเธอคือภรรยาของพระเยซู?

ในหนัง ก็กำหนดให้มารีย์ มักดาลาเป็นหญิงโสเภณี

ในพระคัมภีร์ใหม่มีผู้หญิง 6 คน ที่ใช้ชื่อ "มารีย์"

ข้อมูลของมารีย์ ชาวมักดาลา

ตรวจสอบข้อมูลจากพระกิตติคุณทั้ง 4 เล่ม
เพื่อค้นหามารีย์ชาวมักดาลา
ค้นหามารีย์ชาวเบธานี

ผู้หญิงที่มีน้ำหอมนารดา ซึ่งเธออยู่หมู่บ้านเบธานี

คำถามน่าคิด

ภาพวาดจากทัศนะที่ตีความผิด

เหตุผลที่มารีย์มารวมเป็นคนเดียว

เรื่องนี้อิงประวัติศาสตร์

เป็นประวัติศาสตร์ของชาวฝรั่งเศส

เขารวมมารีย์แห่งเบธานี และมารีย์ชาวมักดาลาเป็นคนๆ เดียวกัน

ศพของเธอถูกฝังอยู่ที่ฝรั่งเศส ตามความเชื่อของคนที่นั่น
ในหนังสือท่องเที่ยวเล่มนี้แนะนำสถานที่ฝังศพของเธอ