Gladiator คือนักสู้กลาดิเอเตอร์จะถูกแบ่งเป็น 10 ระดับ โดยนักสู้ระดับสูงสุดจะได้รับเงินจากการต่อสู้ครั้งเดียวเป็นเงินมากกว่า 15 เท่าของรายได้ทั้งปีของทหารราบ ขณะที่นักสู้ในสังเวียนมีมากกว่า 12 ประเภท
หนึ่งในนักสู้ที่ผ่านสังเวียนแห่งนี้มามากมาย ชื่อของ
"เวรัส" กลับเป็นนักสู้เพียงหนึ่งเดียวที่ได้รับการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์
"เวรัส" เกิดมาเป็นเสรีชน แต่เขาถูกจับในปี ค.ศ. 76 ที่ชายแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือของอาณาจักรโรม เขาถูกนำตัวกลับมายังอิตาลีและถูกบังคับให้เป็นทาส "เวรัส" ทำงานอยู่ในเหมืองหนึ่งปีก่อนจะฉวยโอกาสหนีจากการงานอันตรากตรำของทาสในเหมืองหิน และถูกนำไปเป็นนักสู้ฝึกหัด
เขาเข้ารับการฝึกเพื่อจะเรียนรู้เทคนิคอันซับซ้อน และต้องใช้ฝีมืออย่างสูงของนักสู้กลาดิเอเตอร์
"เวรัส" หล่อหลอมมิตรภาพกับนักสู้ฝึกหัดคนอื่นๆ และเรียนรู้ว่าชีวิตของกลาดิเอเตอร์นั้นอาจจะโสมม ป่าเถื่อน แต่เขาก็เรียนรู้เช่นกันว่าหากมีโชค ฝีมือและความกล้าหาญสุดหัวใจ นักสู้ในสังเวียนก็สามารถโด่งดัง ร่ำรวย ดึงดูดสตรีมากมายให้มาหลงใหล ในที่สุดเวรัสก็สามารถไต่อันดับขึ้นมาและกลายเป็นนักสู้ในสังเวียนที่โด่งดังจนได้
ซึ่งรวมถึง
"มูร์มิลลอส" ที่ถือโล่ขนาดใหญ่และดาบเล่มยาว
"ธราเชียน" ซึ่งต่อสู้เหมือนคนกรีก และ "เรทาริอัส" ซึ่งใช้แหและสามง่ามเป็นอาวุธ
แม้ว่านักสู้ในสังเวียนส่วนมากจะเป็นทาส แต่ไม่ใช่ทุกคน เพราะเมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 2 นักสู้กลาดิเอเตอร์มากกว่า 1 ใน 3 เป็นคนที่สมัครใจเข้ามา โดยมีชื่อเสียงและความมั่งคั่งเป็นสิ่งล่อใจ และการต่อสู้ทุกครั้งก็ไม่ได้จบลงด้วยความตายเสมอไป พวกเขามีโอกาสที่ดีที่จะเอาชีวิตรอด และหลายคนก็อำลาสังเวียนไปหลังจากประสบความสำเร็จในอาชีพนี้
สำหรับคนที่เสียชีวิตพวกนักสู้ในสังเวียนได้ร่วมกันตั้งชมรมฌาปนกิจสงเคราะห์ เพื่อจ่ายเงินสำหรับการทำศพแก่นักสู้ที่เสียชีวิต พวกเขาเชื่อว่าถ้าไม่มีการทำศพอย่างถูกต้อง ผู้ที่ตายจะถูกสาปให้เร่ร่อนเป็นผีอยู่ในโลกตลอดไป
|
มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่ามีที่เมืองเอเฟซัสด้วย |
|
กลาดิเอเตอร์ เกิดขึ้นในสมัยอาณาจักรโรมัน |
|
สิ่งที่เปาโลบรรยายในเอเฟซัส มาจากชุดของ "กลาดิเอเตอร์" |
เปาโลนำเรื่องนี้มายกตัวอย่างในจดหมายฝากเอเฟซัส เพื่อให้คริสเตียนในยุคนั้นมีใจกล้าหาญเหมือนนักสู้กลาดิเอเตอร์ และสิ่งสำคัญของชุดนักสู้ก็คือไม่มีเครื่องป้องกันหลัง ซึ่งต้องสู้กันจนตายไปข้างหนึ่ง เพราะเมื่อลงสนามแล้วจะเลิกสู้ไม่ได้
จงอธิษฐานในพระวิญญาณทุกเวลาโดยการอธิษฐานและการวิงวอนทุกๆ อย่าง เพราะเหตุนี้จงเฝ้าระวังด้วยความเพียรและด้วยการวิงวอนเผื่อธรรมิกชนทุกคนอยู่เสมอ (อฟ. 6:18)