ค้นหาข้อมูลจากบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2561

คริสตมาสกลายเป็นประเพณีและวัฒนธรรมของโลกไปแล้ว

เราคงปฏิเสธไม่ได้แล้วว่า น้อยคนนักจะไม่รู้จักเทศกาลคริสตมาส เพราะทั้งห้างร้าน สถานบันเทิง ร้านค้า ร้านอาหาร โรงเรียน เอาไปใช้เป็นธีมงานเลี้ยงสังสรรค์ประจำปีไปแล้ว เกือบทั้งโลกก็ว่าได้

มีการค้นหาแหล่งที่มาของประเพณีต่างๆ ว่ามาได้อย่างไร (แค่ 400 กว่าปีมานี่เอง) ก็พบว่ามี 4 แหล่งใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงสู่ปัจจุบันคือ...
1. Culture-วัฒนธรรม
2. Decorations-เครื่องประดับตกแต่ง
3. Traditons-ประเพณี
4. Figures-บุคคล

ทั้ง 4 อย่างนี้ค่อยๆ หลอมหลวมจนเป็นเนื้อเดียวให้เราเห็นในปัจจุบัน และที่เพิ่มเติมมา นั่นก็คือของกิน ในเทศกาลคริสตมาส เกิดขึ้นมาในยุคหลังๆ จนกลายเป็นเสน่ห์ดึงดูดของแต่ะประเทศ

ทีนี้ พอใครบอกจะเล่าเรื่องราวที่แท้จริงของวันคริสตมาส ก็เลยไม่ค่อยมีใครใคร่อยากจะรู้แล้ว แค่สนุกสนานรื่นเริงบันเทิงใจก็พอ

ดังนั้น หน้าที่ของการเล่าเรื่องราวต้นกำเนิดที่แท้จริง จึงตกกับผู้เชื่อในปัจจุบัน ที่จะสื่อสารอย่างไรกับเพื่อนบ้านของเรา

จะไปพูดเชิงลบคงไม่ได้ เพราะทั้งต้นสน ซานตาคลอส และกวางเรนเดียร์ ดูเหมือนมาชิงพื้นที่ไปเกือบหมดแล้ว เหลือไว้เพียงชื่องาน Christmas-คริสตมาส ไว้ให้ต้นฉบับอย่างเราคิดหามุกมาเชิญชวนเพื่อนบ้านของเรา ลองคิดหาวิธีการดูนะครับ

ขอพระคุณและสันติสุข จงดำรงอยู่กับท่านในเทศกาลคริสตมาสนี้ด้วยเทอญ อาเมน


เซนต์นิโคลัส ไม่ใช่ที่มาของซานตาคลอส

จากบุคคลที่มีตัวตนจริง มาผสมรวมกับนิทานพื้นบ้าน เสริมแต่งจากนักเขียนการ์ตูน จนห้างเอาไปใช้ น้ำดื่มเอาไปพัฒนาสร้างภาพ สุดท้ายกลายเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลคริสตมาส แค่ 400 กว่าปีนี่เอง แล้วอย่าลืมต้นกำเนิดจริงๆ ด้วยนะครับพี่น้อง

(หมายเหตุ* หลายคนเข้าใจผิด คิดว่าเซนต์นิโคลัส คือที่มาของซานตาคลอส ซึ่งจริงๆ แล้ว มีที่มาต่างกันนะครับ เป็นบุคคลคนละคนกัน แต่ความมั่วบังเกิด เพราะมีคนอยากรู้ตำนาน เลยมีการโยงใยไปเรื่อยเปื่อย ไม่เพียงแต่ลดทอนเรื่องจริงๆ ยังปรุงแต่งจนโบสถ์คริสต์เองเอาไปใช้ด้วย น่าเห็นใจคนยุคปัจจุบันนี้จริงๆ)









ประวัติย่อที่มาของต้นสนวันคริสตมาส



ต้องบอกเลยว่าในคริสตมาสแรกไม่มีต้นสน แต่ถูกพัฒนามาหลายช่วงเวลา โดยเริ่มต้นจากศตวรรษที่ 7 มีการตัดต้นโอ๊กของพวกต่างความเชื่อของ เซนต์โบนีเฟซ และมีการสร้างสัญลักษณ์ใหม่ขึ้นมาทดแทน นั่นก็คือ สัญลักษณ์สามเหลี่ยม (Trinity-ตรีเอกานุภาพ) เพราะพวกเพแกนที่อังกฤษเคยนับถือเทพเจ้าจากต้นโอ๊ก เลยยังคงใช้ต้นไม้เป็นสัญลักษณ์เหมือนกัน (กลายเป็นต้นสนได้ไง ก็ไม่รู้แน่ชัดในตอนนั้น)

       ต่อมามีการนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ในช่วงเทศกาลคริสตมาสที่เยอรมันนี ในช่วงปี 1500

  • ปี 1521 Alsace บางเมืองของเยอรมันก็เริ่มใช้ต้นสนบ้าง
  • ปี 1539 ใช้ในวิหารที่ Strasbourg
  • ปี 1570 เริ่มมีการนำผลไม้มาตกแต่ง และแบ่งปันให้เด็กๆ กินในวันคริสตมาส
  • ปี 1700 มีการนำเทียนมาประดับที่ต้นสน และจุดในวันคริสตมาสอีฟ
  • ในช่วงแรกประมาณปี 1800 โบสถ์คาทอลิก เริ่มมีการใช้บ้าง และแพร่ไปทั่วออสเตรีย 
  • ปี 1840 ฝรั่งเศสก็ใช้บ้าง
  • แต่ที่อเมริกาเริ่มในปี 1816 และกลายเป็นต้นแบบให้กับทั้งโลก จวบจนปัจจุบัน
      ทีนี้ ก็คงคลายกังวลได้นะครับ ว่าต้นสนคริสตมาส ก็มีที่มาทางความเชื่อเหมือนกัน เพียงแต่ไม่ได้อยู่ในคริสตมาสแรกที่เบธเลเฮม แต่ถูกพัฒนามาจากการทดแทนความเชื่อเดิมของฝรั่งที่ไหว้ต้นไม้ (โอ๊ก) คล้ายๆ บ้านเราที่ยังมีการไหว้ต้นไม้เหมือนกัน (แต่เกี่ยวข้องกับหวย!)






ถ้าไม่ใช่ 25 ธันวาคม แล้วพระเยซูเกิดเดือนอะไรกันแน่?

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า วันที่ 25 ธันวาคม ไม่ใช่วันเกิดที่แท้จริงของพระเยซู แต่เป็นวันที่ถูกสร้างขึ้นทดแทนเทศกาลดั้งเดิมของชาวยุโรปในสมัยแรก และส่งผลให้ทั้งโลกเฉลิมฉลองตามๆ กันมาอย่างไม่ได้สงสัยอะไรเลย

และหากเราไปที่เบธเลเฮมในปัจจุบัน ก็จะพบว่ามีการเฉลิมฉลองต่างกันถึง 3 นิกาย นั่นคือ

  • คาทอลิก ฉลองวันที่ 25 ธันวาคม
  • ออโธดอกซ์ 6 มกราคม
  • อาร์มาเนียน 18-19 มกราคม

มีการศึกษาข้อมูลจากพระคัมภีร์ที่มีเบาะแสอยู่บ้าง ก็พอจะได้ข้อมูลเบื้องต้น จะเชื่อหรือไม่ก็ตาม ข้อมูลเหล่านี้ก็น่าสนใจ และมีความเป็นไปได้

ก็อยู่ที่ว่า ใครจะเปลี่ยนไปฉลองตามเดือนที่น่าจะเป็น หรือเกาะติดตามกระแสโลกต่อไป ก็ไม่ได้มีใครว่าอะไร แค่ขอเพียงยังคงรำลึกถึงความหมายดั้งเดิมก็แล้วกัน คือพระคริสต์มาครั้งแรกด้วยเจตนาอะไร และพระองค์ก็กำลังจะเสด็จมาครั้งที่สองด้วย อันนี้สำคัญพอๆ กับครั้งแรกนะครับ










ลำดับเหตุการณ์คริสตมาสแรกตามความน่าจะเป็น

ลำดับเหตุการณ์คริสตมาสแรกตามความน่าจะเป็น เราจัดทำขึ้นเพื่อให้พี่น้องมองเห็นภาพรวมทั้งหมด เพราะที่ผ่านมา เราเรียนรู้ลำดับเหตุการณ์แบบเหมารวม ทั้งจากภาพวาด การ์ตูน หรือภาพยนตร์ ทำให้เรื่องราวปะปนกันไปหมดตามที่ฝรั่งเรียกว่า Nativity Scene ซึ่งถูกทำขึ้นครั้งแรกในปี 1223 โดย St. Francis

ลำดับความน่าจะเป็น อาจจะต่างจากความเคยชินที่ปรุงแต่งแบบสำเร็จรูป ที่ส่งต่อกันมาเป็นร้อยเป็นพันปี แบบเนียนๆ จนไม่ได้สงสัยอะไร เพราะมีครบองค์ประกอบ แต่พอมาดูแบบละเอียด กลับทิ้งเหตุการณ์สำคัญของการรอคอยเมสสิยาห์กว่า 700 ปีไปอย่างเฉยเมย เหลือไว้เพียงซีนแรกเพียงกระนั้นหรือ! โปรดรำลึกถึงสิเมโอน และนางอันนา แบบอย่างของการรอคอยการเสด็จมาครั้งแรกของพระคริสต์กันด้วยเถิด เพราะพระเยซูจะเสด็จมาอีกครั้งที่สอง ท่านรอคอยพระองค์อยู่หรืเปล่า