ค้นหาข้อมูลจากบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การเติบโตของลูกชายคนเล็ก

เมื่อเราเอาภาพเด็กมาเปรียบเทียบกันทุกๆ ปี เราจะเห็นการเติบโตและเปลี่ยนแปลงของเขา แต่สิ่งสำคัญตัวตนของเขายังเหมือนเดิม หากเราจะเติมแต่ง เสริมสร้าง หรือยัดอะไรใส่เข้าไปในหัวของเขา แน่นอนว่าวันหนึ่ง มันจะฉายแสงออกมา


เปรียบเทียบกับหน้าพี่ชายคนโต

วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ความทรงจำที่อยากเก็บเอาไว้

แน่นอนว่ามีหลายคนที่ประสบเหตุน้ำท่วม แต่คงมีไม่กี่คนที่จะถ่ายภาพเก็บเอาไว้ ผมอาจเป็นคนส่วนน้อยที่ชอบถ่ายภาพเก็บเอาไว้ เลยนำภาพความทรงจำเก็บไว้ในบล็อกนี้่ เผื่อว่าเวลาผ่านไป ภาพนี้จะย้ำเตือนว่าครั้งหนึ่ง น้ำเคยท่วมถึงถนนรามอินทรา ปี 2011

ความพยายามของครอบครัว
ที่เอากองหนังสือห่อไว้ด้วยผ้าพลาสติกมากั้นน้ำ

ด้านในบ้านก็ทำไว้อย่างดี แต่น้ำก็สามารถเข้ามาจนได้
โดยมาตามเสาของบันไดบ้าน (เหลือเชื่อจริงๆ)

ตู้ใบนี้ทิ้งไปเรียบร้อยแล้วครับ
เพราะฐานของตู้บอบช้ำและซับน้ำเอาไว้มาก

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เหมือนชีวิตหายไปกว่าหนึ่งเดือน

นับตั้งแต่กรุงเทพฯ ส่วนเหนือถูกน้ำท่วม ผมเองและครอบครัวก็ไม่ต่างอะไรกับผู้อพยพลี้ภัยในหลายภาคส่วนของประเทศ ที่ต้องหนีน้ำออกจากบ้าน เพราะบ้านอยู่ไม่ได้ (อยู่ไม่ได้จริงๆ) คนที่บ้านยังไม่เคยโดนน้ำท่วมก็คงนึกไม่ออก

ผมเองออกมาจากบ้านก่อนที่น้ำจะท่วม เพราะความหวังดีของโรงเรียนที่ลูกชายทั้งสองเรียน ทางครูใหญ่เป็นห่วงในความปลอดภัยของเหล่าผู้ปกครองและเด็กนักเรียน เกรงว่าจะโกลาหลเหมือนในหลายๆ ที่จึงขอให้อพยพเสียแต่เนิ่นๆ เพราะการเคลื่อนของมวลน้ำที่มาในช่วงนั้น คาดเดายากเหลือเกิน บางครั้งมากลางค่ำกลางคืน ยังไม่ทันตั้งตัว น้ำก็ท่วมชั้นหนึ่งเรียบร้อยแล้ว

บ้านผมอยู่ในเขตบางเขน ติดกับเขตสายไหม โรงเรียนของลูกอยู่ในเขตสายไหมพอดี จึงเข้าข่ายเขตที่จะประสบภัยน้ำท่วมแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้

เนื่องจากผมเองยังคงมีงานค้างอยู่ที่จังหวัดราชบุรี ทันทีที่รู้ว่าต้องอพยพ ที่แรกที่คิดออกคือหัวหิน เพราะเผื่อว่าจะกลับมาทำงานที่ราชบุรีได้ สรุปก็คือ

1. ไปนอนหัวหิน 1 คืน

19 ตุลาคม 2011 อพยพมาหัวหินเป็นที่แรก หลังรับข้อมูลจากโรงเรียน

2. มาทำงานราชบุรี เลยตัดสินใจนอนค้างที่ราชบุรีต่อ ไปๆ มาๆ นอนที่ราชบุรีถึง 4 คืน (3 ที่)

20 ตุลาคม 2011 มานอนพักโฮมสเตย์คลองประดู่ จ.ราชบุรี

21 ตุลาคม 2011 ที่ถ้ำเขาบิน จ.ราชบุรี (ฟรี)

22-23 ตุลาคม 2011 คนราชบุรีใจดี ให้นอนบ้านเพื่อนของเขาที่เขางู 
อีก 2 คืน (ฟรี)เกรงใจอย่างยิ่งเลยกลับมาตั้งหลักที่กรุงเทพฯ

จากนั้นก็จำเป็นต้องวางแผนใหม่ เพราะมีงานที่ต้องจังหวัดตรัง จึงต้องออกจากราชบุรี ข้ามมายังจ.ชลบุรีที่บางแสน โดยคำแนะนำของเพื่อนผู้ปกครองที่ปัญโญทัย

3. จึงมาพักที่บางแสน 1 สัปดาห์ (ส่วนตัวผมต้องระหกระเหินมาหาทางขึ้นเครื่องบินที่สุวรรณภูมิไปตรัง จากเดิมที่ต้องไปขึ้นที่ดอนเมือง ส่วนภรรยาและลูกต้องรออยู่ที่บางแสน)

24 ตุลาคม 2011 อยู่ที่บางแสนอีก 8 วัน

หลังกลับจากตรัง เพื่อความประหยัด มีเพื่อนสนิทเสนอที่พักฟรีให้ อยู่แถวอ.บางละมุง เลยบางแสนไปอีก

4. นับแต่นั้นจึงมาอยู่ที่ อ.บางละมุงจนถึงทุกวันนี้

1 พฤศจิกายน 2011 มาพักที่ อ.บางละมุง

เพิ่งจะกลับมานอนบ้านทั้งครอบครัวก็เพิ่งวันนี้ (23 พย. 2011)

ในบ้านชั้นหนึ่งน้ำลดลงแล้ว แต่ก็คงอยู่ยาก
เพราะยุงเยอะ และเหม็นกลิ่นน้ำเน่า

สรุปว่าการเป็นผู้อพยพหรือลี้ภัย ทำให้บางส่วนชองชีวิตเหมือนหายไป ทั้งๆ ที่มันก็อยู่กับเราทุกวัน ที่หายไปคือจังหวะชีวิตเดิมๆ การทำสิ่งเดิมๆ กินอาหารแบบเดิมๆ ทุกอย่างเปลี่ยนไปหมด

การเดินทางช่วงที่ผ่านมายาวนานขึ้น เวลาไปทำงานก็เดินทางนานขึ้น

ทำเรื่องยุคสุดท้ายมา 4-5 ปี เพิ่งรู้รสชาดของการลี้ภัย มันเป็นอย่างนี้นี่เอง มันเกินกว่าที่จะจินตนาการได้

ผมขอบคุณพระเจ้าที่ประเทศไทย แม้เกิดภัยพิบัติ เราก็ยังพอมีเวลาที่จะเตรียมตัว เตรียมใจล่วงหน้า เป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน

ภาพข่าวของแต่ละจังหวัดที่ประสบภัย เหมือนภาพยนตร์ที่ดูชมมาเรื่องแล้วเรื่องเล่า และชินชากับภาพที่เห็น และมองว่ายังไม่ใช่เรา จนประสบจริงถึงเข้าใจ เห็นใจ และเสียใจกับบางเรื่องบางเหตุการณ์ที่ได้สัมผัสตรง และชมข่าว

บางครั้งผมก็อดคิดไม่ได้ว่า ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น มันยังไม่เพียงพออีกหรือ ที่เราจะหยุดคิด หยุดตำหนิ แล้วหันมาตั้งคำถามกันว่า "เราจะทำอย่างไรกันต่อไปในปีหน้า?"

เรื่องนี้มันเพิ่งเริ่มต้น ในทัศนะของผม โลกกำลังจะปรับเปลี่ยนภูมิศาสตร์ครั้งใหญ่ แต่ใจเรากลับวุ่นวายกว่าเดิม

ปัญหาโลกร้อนเกิดขึ้นมากว่า 30 ปีแล้ว

“แต่​ไม่​มี​ใคร​รู้​เรื่อง​วัน​หรือ​เวลา​นั้น แม้​แต่​พวก​ทูต​ใน​ฟ้า​สวรรค์​หรือ​พระ​บุตร มี​แต่​พระ​บิดา​เท่า​นั้น จง​เฝ้า​ระวัง​และ​อธิษ​ฐาน เพราะ​พวก​ท่าน​ไม่​รู้​ว่า​วัน​นั้น​หรือ​เวลา​นั้น​จะ​มา​ถึง​เมื่อ​ไหร่ 
มาระโก 13:32-33

ขอพระเจ้าอวยพระพร


วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

อัพเดทถนนของกรมทางหลวงใช้การไม่ได้ใน10จังหวัด หลังประสบภัยน้ำท่วมประจำวันนี้ (8พ.ย.)

อัพเดทถนนของกรมทางหลวงใช้การไม่ได้ใน10จังหวัด หลังประสบภัยน้ำท่วมประจำวันนี้ (8พ.ย.)

กรมทางหลวงแจ้งให้ผู้ใช้รถใช้ถนนหลีกเลี่ยงเส้นทาง 73 สายทางที่ผ่านไม่ได้ ในพื้นที่ 10 จังหวัด อันเนื่องมาจากสถานการณ์อุทกภัย เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทาง ดังนี้

1. จังหวัดนครสวรรค์
1. ทางหลวงหมายเลข 1084 ป่าแดง-บรรพตพิสัย-โพทะเล ท้องที่อำเภอเมือง ทางขาดที่ กม. 18 และน้ำท่วม ที่กม. 48-52 ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 กำแพงเพชร-นครสวรรค์
2. ทางหลวงหมายเลข 3475 ทับกฤช-พนมรอก ท้องที่อำเภอชุมแสง อ.ท่าตะโก น้ำท่วมที่กม. 0-8 เป็นแห่ง ๆ (คันทางอ่อนตัว) ใช้ทางหลวงหมายเลข 1119 บ.หนองบัว-บ.พนมรอกและทางหลวงหมายเลข 3004 บ้านท่าตะโก-นครสวรรค์
3. ทางหลวงหมายเลข 3522 ทางแยกเข้าพยุหะคีรี ท้องที่อำเภอพยุหะคีรี น้ำท่วมที่กม. 2-4 ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 พยุหะคีรี-นครสวรรค์

2. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

1.ทางหลวงหมายเลข 9 บางปะอิน-ลำลูกกา-ประเวศ (วงแหวนตะวันออก) ท้องที่อำเภอวังน้อย อำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรี และอำเภอคลองสามวา น้ำท่วมที่กม. 0-40 ให้ใช้ทางแยกต่างระดับรามอินทรา ทางหลวงหมายเลข 304 หลักสี่-มีนบุรี (ถนนรามอินทราที่ กม.42 )
2.ทางหลวงหมายเลข 308 บ้านเลน-บางปะอิน ท้องที่อำเภอบางปะอิน น้ำท่วมที่กม. 1-7 ไม่มีเส้นทางทดแทน
3.ทางหลวงหมายเลข 308 พหลโยธินแนวเก่า ท้องที่อำเภอบางปะอิน อำเภอวังน้อย น้ำท่วมที่กม. 52-54 ไม่มีเส้นทางทดแทน
4.ทางหลวงหมายเลข 309 วังน้อย-อยุธยา ท้องที่อำเภอวังน้อย น้ำท่วมที่กม. 0-20 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน
5.ทางหลวงหมายเลข 329 บางปะหัน-สุพรรณบุรี ท้องที่อำเภอบางปะหัน น้ำท่วมที่กม. 32-52 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน
6.ทางหลวงหมายเลข 340 ลาดบัวหลวง-สาลี ท้องที่อำเภอลาดบัวหลวง และอำเภอเสนา น้ำท่วมที่กม. 55-65 ไม่มีเส้นทางทดแทน
7.ทางหลวงหมายเลข 347 บางปะอิน-เจ้าปลุก ท้องที่อำเภอเมืองและอำเภอบางปะหัน น้ำท่วมที่กม. 21-50 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน
8.ทางหลวงหมายเลข 347 เจ้าปลุก-บางปะหัน ท้องที่อำเภอบางปะหัน น้ำท่วมที่กม. 50-51 ไม่มีเส้นทางทดแทน
9.ทางหลวงหมายเลข 352 แยกต่างระดับวังน้อย-หนองแค ท้องที่อำเภอวังน้อย น้ำท่วมที่กม. 25-27 ไม่มีเส้นทางทดแทน
10.ทางหลวงหมายเลข 3056 ต.คุ้งลาน-ต.ตลิ่งชัน ท้องที่อำเภอบางปะอิน และอำเภอพระนครศรีอยุธยา น้ำท่วมที่กม.0-6 ไม่มีเส้นทางทดแทน
11.ทางหลวงหมายเลข 3260 สองพี่น้อง-มะขามส้ม ท้องที่อำเภอสองพี่น้อง และอำเภอบางปลาม้า น้ำท่วมที่กม. 0-13 ไม่มีเส้นทางทดแทน
12.ทางหลวงหมายเลข 3267 อ่างทอง-อยุธยา ท้องที่อำเภอมหาราช น้ำท่วมที่กม. 2-5 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน
13.ทางหลวงหมายเลข 3351 บางแม่หม้าย-บางสาม ท้องที่อำเภอสองพี่น้อง น้ำท่วมที่กม. 26-27 ไม่มีเส้นทางทดแทน
14.ทางหลวงหมายเลข 3412 อยุธยา-บางบาล ท้องที่อำเภอบางบาล น้ำท่วมที่กม. 0-16 ใช้ทางหลวงหมายเลข 3501 อ่างทอง-บางบาล
15.ทางหลวงหมายเลข 3454 ผักไห่-เสนา ท้องที่อำเภอเสนา น้ำท่วมที่กม. 109-111 ใช้ทางของ อบจ.
16.ทางหลวงหมายเลข 3477 บางปะอิน-อยุธยา ท้องที่อำเภอบางปะอิน น้ำท่วมที่กม. 0-14 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน
17.ทางหลวงหมายเลข 3901 บางปะอิน-คลองระพีพัฒน์ ท้องที่อำเภอวังน้อย (ทางคู่ขนานวงแหวนตะวันตก) น้ำท่วมที่กม. 0-4 ไม่มีเส้นทางทดแทน
18.ทางหลวงหมายเลข 3902 บางปะอิน-คลองระพีพัฒน์ ท้องที่อำเภอวังน้อย (ทางคู่ขนานวงแหวนตะวันตก) น้ำท่วมที่กม. 0-4 ไม่มีเส้นทางทดแทน

3. จังหวัดสิงห์บุรี
1.ทางหลวงหมายเลข 11 อินทร์บุรี-ตากฟ้า ท้องที่อำเภออินทร์บุรี น้ำกัดเซาะคอสะพานขาด ที่กม. 5 ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 สิงห์บุรี-ชัยนาท
2.ทางหลวงหมายเลข 3028 บางงา-บ้านหมี่ ท้องที่อำเภอท่าวุ้ง และอำเภอบ้านหมี่ น้ำท่วมที่กม. 1-24 เป็นแห่งๆ ใช้ทางหลวงหมายเลข 3196 บ้านหมี่-ลพบุรี

4. จังหวัดลพบุรี
1. ทางหลวงหมายเลข 311 เลี่ยงเมืองลพบุรี ท้องที่อำเภอเมือง และอำเภอท่าวุ้ง น้ำท่วมที่กม. 8-19 เป็นแห่งๆ และคอสะพานขาดที่ กม. 16 ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ลพบุรี-เฉลิมพระเกรียติ์

5. จังหวัดชัยนาท
1.ทางหลวงหมายเลข 3183 ชัยนาท-วัดสิงห์ ท้องที่อำเภอวัดสิงห์ น้ำท่วมที่กม. 25-28 (ประชาชนอพยพขึ้นมาอยู่บนพื้นผิวจราจร) ใช้ทาง อบต.
2.ทางหลวงหมายเลข 3213 วัดสิงห์-หนองมะโมง ท้องที่อำเภอวัดสิงห์ น้ำท่วมที่กม. 0-1 ใช้ทาง อบต.
3.ทางหลวงหมายเลข 3244 ชัยนาท-ท่าหาด ท้องที่อำเภอเมือง น้ำท่วมที่กม. 0-4 ไม่มีเส้นทางทดแทน

6. จังหวัดปทุมธานี
1.ทางหลวงหมายเลข 1 สนามกีฬาธูปเตมีย์-ประตูน้ำพระอินทร์ ท้องที่อำเภอคลองหลวง, อ.ธัญบุรี น้ำท่วมที่กม. 32-51 เป็นแห่งๆ ให้ใช้ทางด่วนดอนเมืองโทลเวย์
2.ทางหลวงหมายเลข 9 ลาดหลุมแก้ว-ทางแยกต่างระดับบางปะอิน (วงแหวนตะวันตก) ท้องที่อำเภอลาดหลุมแก้ว น้ำท่วมที่กม. 62-81 ให้ใช้ดอนเมืองโทลเวย์
3.ทางหลวงหมายเลข 305 รังสิต-นครนายก ท้องที่อำเภอธัญบุรี น้ำท่วมที่กม. 0-15 เป็นแห่งๆ ให้ใช้ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หมายเลข 7 (มอเตอร์เวย์สาย 7)-บางปะกง-ใช้ทางหลวงหมายเลข 314 บางปะกง-ทางหลวงหมายเลข 304 ฉะเชิงเทรา-พนมสารคาม-กบินทร์บุรี- ปักธงชัย เป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้น/ล่องภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
4.ทางหลวงหมายเลข 306 สะพานคลองบ้านใหม่-บางพูน ท้องที่อำเภอเมือง น้ำท่วมที่กม. 22-23 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน
5.ทางหลวงหมายเลข 346 สามแยกบางพูน-แยกเข้าปทุมธานี ท้องที่อำเภอเมือง น้ำท่วมที่กม. 0-19 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน
6.ทางหลวงหมายเลข 346 ระแหง-ลาดหลุมแก้ว ท้องที่อำเภอลาดหลุมแก้ว น้ำท่วมที่กม. 20-30 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน
7.ทางหลวงหมายเลข 347 ปทุมธานี-อยุธยา ท้องที่อำเภอเมือง น้ำท่วมที่กม. 2-16 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน
8.ทางหลวงหมายเลข 352 ธัญบุรี-อยุธยา ท้องที่อำเภอธัญบุรี น้ำท่วมที่กม. 0-22 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน
9.ทางหลวงหมายเลข 3100 ปทุมธานี-บ้านใหม่ ท้องที่อำเภอเมือง น้ำท่วมที่กม. 0-6 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน
10.ทางหลวงหมายเลข 3111 ปทุมธานี-สามโคก ท้องที่อำเภอสามโคก น้ำท่วมที่กม. 0-6 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน
11.ทางหลวงหมายเลข 3214 บ้านพร้าว-คลองหลวง ท้องที่อำเภอคลองหลวง น้ำท่วมที่กม. 2-15 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน
12.ทางหลวงหมายเลข 3309 ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร-บางไทร-สามโคก ท้องที่อำเภอบางปะอิน อำเภอเชียงราก อำเภอสามโคก น้ำท่วมที่กม. 6-33 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน
13.ทางหลวงหมายเลข 3312 เชียร์รังสิต-ต.พระอาจารย์ ท้องที่อำเภอลำลูกกา น้ำท่วมที่กม. 12-20 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน
14.ทางหลวงหมายเลข 3508 ถนนชุมชนท้องถิ่นเลียบทางรถไฟสายเหนือ ท้องที่อำเภอเมือง น้ำท่วมที่กม. 29-30 ไม่มีเส้นทางทดแทน
15.ทางหลวงหมายเลข 3901 คลองระพีพัฒน์-ลำลูกกา ท้องที่อำเภอคลองหลวง น้ำท่วมที่กม. 3-21 (ทางขนานวงแหวนตะวันตก) ไม่มีเส้นทางทดแทน
16.ทางหลวงหมายเลข 3902 คลองระพีพัฒน์-ลำลูกกา ท้องที่อำเภอคลองหลวง น้ำท่วมที่กม. 3-21 (ทางขนานวงแหวนตะวันตก) ไม่มีเส้นทางทดแทน

7. จังหวัดสุพรรณบุรี
ทางหลวงหมายเลข39023สาลี่-สุพรรณบุรี ท้องที่อำเภอเมือง น้ำท่วมที่กม. 75-98 เป็นแห่งๆ (ทางขนาน) ใช้ทางหลวงหมายเลข 340 (เส้นทางสายหลัก)

8. จังหวัดนนทบุรี
1.ทางหลวงหมายเลข 9 ตลิ่งชัน-บางบัวทอง-ลาดหลุมแก้ว(หน้าหมู่บ้านสมบัติบุรี-คลองมหาสวัสดิ์)ท้องที่อำเภอบางบัวทอง น้ำท่วมที่กม. 30-58 เป็นแห่งๆ ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 พระราม 2 (ดาวคะนอง-วังมะนาว)-ทางหลวงหมายเลข 4 ราชบุรี-นครปฐม -ทางหลวงหมายเลข 321 กำแพงแสน-สุพรรณบุรี เป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้น/ล่องภาคเหนือ และหรือให้ใช้ทางด่วนดอนเมืองโทลเวย์-รังสิต-อยุธยา
2.ทางหลวงหมายเลข 306 กรุงเทพมหานคร-แคราย ท้องที่อำเภอปากเกร็ด น้ำท่วมที่กม. 19-21 ไม่มีเส้นทางทดแทน
3.ทางหลวงหมายเลข 307 ปากเกร็ด-ปทุมธานี ท้องที่อำเภอปากเกร็ด น้ำท่วมที่กม. 0-4 ไม่มีเส้นทางทดแทน
4.ทางหลวงหมายเลข 340 บางบัวทอง-ลาดบัวหลวง ท้องที่อำเภอบางบัวทอง น้ำท่วมที่กม. 25-55 เป็นแห่งๆ ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 พระราม 2 (ดาวคะนอง-วังมะนาว) -ทางหลวงหมายเลข 4 ราชบุรี-นครปฐม- ทางหลวงหมายเลข 321 กำแพงแสน-สุพรรณบุรี เป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้น/ล่องภาคเหนือ และหรือให้ใช้ทางด่วนดอนเมืองโทลเวย์-รังสิต-อยุธยา
5.ทางหลวงหมายเลข 345 สะพานนนทบุรี-บางบัวทอง ท้องที่อำเภอบางบัวทอง น้ำท่วมที่กม. 0-10 เป็นแห่งๆ ใช้ทางของเทศบาล
6.ทางหลวงหมายเลข 346 ลาดหลุมแก้ว-ปทุมธานี ท้องที่อำเภอลาดหลุมแก้ว น้ำท่วมที่กม. 20-29 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน
7.ทางหลวงหมายเลข 346 ลาดหลุมแก้ว-บางเลน ท้องที่อำเภอไทรน้อย น้ำท่วมที่กม. 32-42 ไม่มีเส้นทางทดแทน
8.ทางหลวงหมายเลข 3215 บางกรวย-ราษฎร์นิยม ท้องที่อำเภอบางบัวทอง น้ำท่วมที่กม. 0-35 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน
9.ทางหลวงหมายเลข 3901 คลองบางไผ่-ลาดหลุมแก้ว(ทางคู่ขนานวงแหวนตะวันตก) ขาออก ท้องที่อำเภอบางบัวทอง น้ำท่วมที่กม. 30-45 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน
10. ทางหลวงหมายเลข 3902 คลองบางไผ่-ลาดหลุมแก้ว (ทางคู่ขนานวงแหวนตะวันตก) ขาเข้า ท้องที่อำเภอบางบัวทอง น้ำท่วมที่กม. 42-44 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน

9. กรุงเทพมหานคร
1.ทางหลวงหมายเลข 1 อนุสาวรีย์หลักสี่-สนามกีฬาธูปเตมีย์(อุโมงค์หลักสี่)ท้องที่เขตดอนเมือง น้ำท่วมที่กม. 18-19 ไม่มีเส้นทางทดแทน
2.ทางหลวงหมายเลข 1 อนุสาวรีย์หลักสี่-สนามกีฬาธูปเตมีย์ ท้องที่เขตดอนเมือง น้ำท่วมที่กม. 24-28 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน
3.ทางหลวงหมายเลข 9 วงแหวนตะวันตกสาย 9(ต่างระดับฉิมพลี-คลองมหาสวัสดิ์) ท้องที่เขตตลิ่งชัน น้ำท่วมที่ กม. 20-31 ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 พระราม 2 (ดาวคะนอง-วังมะนาว) -ทางหลวงหมายเลข 4 ราชบุรี-นครปฐม- ทางหลวงหมายเลข 321 กำแพงแสน-สุพรรณบุรี เป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้น/ล่องภาคเหนือ
4.ทางหลวงหมายเลข 31 จตุจักร-รังสิต ท้องที่เขตจุจักร และเขตหลักสี่ น้ำท่วมที่กม. 10-18 เป็นแห่งๆ ให้ใช้ทางด่วนดอนเมืองโทลเวย์-รังสิต-อยุธยา
5.ทางหลวงหมายเลข 31 ดินแดง-ดอนเมือง ท้องที่เขตดอนเมือง น้ำท่วมที่กม. 20-29 เป็นแห่งๆ ให้ใช้ทางด่วนดอนเมืองโทลเวย์-รังสิต-อยุธยา
6.ทางหลวงหมายเลข 302 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์-สี่แยกแคราย (อุโมงค์เกษตร) ท้องที่เขตจตุจักร น้ำท่วมที่กม. 0-2 ไม่มีเส้นทางทดแทน
7.ทางหลวงหมายเลข 304 อนุสาวรีหลักสี่-มีนบุรี ท้องที่เขตบางเขน และเขตคันนายาว น้ำท่วมที่กม. 0-8 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน
8.ทางหลวงหมายเลข 304 แจ้งวัฒนะ-อนุสาวรีหลักสี่ ท้องที่เขตบางเขน น้ำท่วมที่กม. 0-5 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน
9. ทางหลวงหมายเลข 338 บางบำหรุ-พุทธมณฑล สาย 4 ท้องที่เขตตลิ่งชัน น้ำท่วมที่กม. 2-18 เป็นแห่งๆ ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 พระราม 2 (ดาวคะนอง-วังมะนาว) -ทางหลวงหมายเลข 4 ราชบุรี-นครปฐม -ทางหลวงหมายเลข 321 กำแพงแสน-สุพรรณบุรี เป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้น/ล่องภาคเหนือ และหรือให้ใช้ทางด่วนดอนเมืองโทลเวย์-รังสิต-อยุธยา
10.ทางหลวงหมายเลข 341 สะพานกรุงธน-ต่างระดับสิรินธร ท้องที่เขตบางพลัด น้ำท่วมที่กม. 2-3 ไม่มีเส้นทางทดแทน
11.ทางหลวงหมายเลข 351 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์-บึงกุ่มท้องที่เขตคลองกุ่ม น้ำท่วมที่กม. 0-10 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน
12.ทางหลวงหมายเลข 3312 ลำลูกกา-นครนายก ท้องที่อำเภอลำลูกกา น้ำท่วมที่กม. 0-8 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน
13.ทางหลวงหมายเลข 3901 พระประแดง-บางแค ท้องที่เขตบางแค (ทางคู่ขนานวงแหวนตะวันตก) น้ำท่วมที่กม. 21-30 เป็นแห่งๆ ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 เพชรเกษม

10.จังหวัดนครปฐม
1.ทางหลวงหมายเลข 346 ลาดหลุมแก้ว-บางเลน ท้องที่อำเภอบางเลน น้ำท่วมที่กม. 43-51 เป็นแห่งๆ ไม่มีสายทางทดแทน
2.ทางหลวงหมายเลข 338 สามพราน-นครชัยศรี ท้องที่อำเภอสามพราน น้ำท่วมที่กม. 22-23 ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม)
3.ทางหลวงหมายเลข 3310 อ้อมน้อย-พุทธมณฑล ท้องที่อำเภอพุทธมณฑล น้ำท่วมที่กม. 1-10 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน
4.ทางหลวงหมายเลข 3414 อ้อมน้อย-เขตการรถไฟ ท้องที่อำเภอพุทธมณฑล น้ำท่วมที่กม. 8-10 เป็นแห่งๆ ไม่มีเส้นทางทดแทน



ข้อมูลโดย: วิทยุครอบครัวข่าว ส.ทร.FM106

วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เว็บไซต์เพื่อตรวจสภาพน้ำด้วยตัวเองครับ

เข้าไปเช็คดูได้ตลอดครับ เพื่อความสบายใจของทุกท่านที่กังวลอยู่ในขณะนี้

http://dds.bangkok.go.th/Canal/
http://dds.bangkok.go.th/Floodmon/

เลือกดูจุดสำคัญๆ ได้ แต่ไม่ครบทุกที่ แต่ก็รู้สถานการณ์ล่วงหน้าได้
http://dds.bangkok.go.th/Canal/

มีภาพจำลองจากสถานที่สำคัญ ระดับน้ำในคลองให้เห็นกันชัดๆ

หรือจะดูว่าถนนแถวไหนน้ำท่วมบ้าง
http://dds.bangkok.go.th/Floodmon/

สรุปภาพถ่ายจากดาวเทียม และการเตรียมพร้อมสำหรับคนกรุง

ผมพยายามรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนพี่น้อง เท่าที่จะหาได้ในช่วงนี้ และเผื่อว่าเราจะมีเวลาเตรียมตัวกันมากขึ้น หรือเร็วขึ้น อย่าชะล่าใจกับสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ

ปี 2538 เคยเกิดน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯ แต่นั่นไม่ใช่เหตุการณ์ครั้งแรก ซึ่งมันเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง และครั้งนี้กำลังเป้นบทพิศูจน์ว่า เราฟังคำเตือนของเหล่านักวิชาการที่ออกมาเตือนครั้งแล้วครั้งเล่า และจากนักศาสนศาสตร์ที่กล่าวย้ำเรื่องวันสิ้นยุคที่กำลังจะมาเยือนเราในชั่วขณะที่เรายังมีลมหายใจอยู่

"วันสิ้นโลก" ยังน่ากลัวน้อยกว่า "วันสิ้นคิด" ครับผม

เกราะป้องกันกรุงเทพฯ เขื่อนที่เราไว้ใจได้ ปราการสุดท้าย

มีคนส่งมาให้เพื่อเตือนคนแถวรามอินทรา และวัชรพล
แถวบ้านของผมพอดี

ภาพจากดาวเทียม มองเห็นมวลน้ำมหาศาล
ที่กำลังเคลื่อนสู่อ่าวไทย โดยมีกรุงเทพฯขวางกั้น

ภาพถ่ายจากดาวเทียมล่าสุด
มวลน้ำห้อมล้อมกรุงเทพฯ เสมือนปลาใหญ่กำลังจะกินเหยื่อ

หากระสอบทรายไม่ได้ ลองวิธีนี้ดูก็พอไหวนะครับ

ป้องกันน้ำจากส้วม จุดบอดที่เราอาจนึกไม่ถึง

ดูไว้คิดต่อ หากปีนี้เรารอด ปีหน้ายังมีอีก!

มีทางเลือกเสมอสำหรับคนไม่สิ้นคิด

วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บรรยายเรื่อง เจาะลึก 7 คริสตจักรครั้งแรก

วันที่ 10 ตค. คุณปามที่ตรัง เป็นผู้เตรียมงานเรื่องการสัมมนาพิเศษเรื่อง "เจาะลึก 7 คริสตจักร" ซึ่งเป็นเนื้อหาในหนังสือวิวรณ์โดยเริ่มตั้งแต่บทที่ 1-3

ขอบคุณคุณหน่องที่ติดต่อเรื่องสถานที่ "หอการค้าจังหวัดตรัง" ในการสัมมนาครับ

ติดตามบันทึกการบรรยายสดได้เร็วๆ นี้

หอการค้าจังหวัดตรัง คือสถานที่จัดสัมมนาของเรา

พี้น้องจากคจ.ห้วยยอด ได้รับรางวัลตอบคำถาม
รางวัลคือ DVD รู้ทันวันสิ้นยุค

บรรยากาศในห้องสัมมนา

ผู้เข้าร่วมสัมมนาที่ตรังมาจากหลากหลายคริสตจักร

เทศน์เรื่องโนอาห์ที่คจ.กันตัง

วันอาทิตย์ที่ 9 ตค. 2011 ยังอยู่ที่ตรัง ได้รับเชิญให้ไปบรรยายเรื่อง "บทเรียนจากอดีต" ซึ่งเป็นบทเรียนเรื่องน้ำท่วมโลกสมัยโนอาห์ ที่คจ.กันตัง ซึ่งอยู่ทางใต้ของจังหวัด

อาคารของคริสตจักร และหอระฆัง

นมัสการในเช้าวันอาทิตย์

ผมบรรยายเรื่องบทเรียนจากอดีต

คลิปเพลงที่มีเนื้อหาเรื่องโนอาห์น้ำท่วมโลก
จนถึงยุคปัจจุบันที่น้ำแข็งขั้วโลกกำลังละลาย 

ผมถ่ายภาพหน้าโบสถ์

ที่สถานีรถไฟกันตังครับ
ซึ่งกลายเป็นหนึ่งในยี่สิบของสถานที่โบราณของตรัง

สุดทางรถไฟที่กันตัง

เชื่อกันว่านี่คือต้นยางพาราต้นแรกของประเทศไทย

วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เจาะลึก 7 คริสตจักรในวิวรณ์ เรื่องล่าสุดของเดือนตุลาคม 2011

ผมเตรียมเนื้อหาเสร็จเรียบร้อย จึงเลือกบางภาพมาให้ดูกันก่อนบรรยายจริงในวันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม 2011 ที่จังหวัดตรังครับ ในหัวข้อที่ชื่อว่า "เจาะลึก 7 คริสตจักร"

ปก DVD ชุดใหม่ ทำรอไว้เลย

ใช้พระธรรมวิวรณ์บทที่ 1-3



ความหมายเบื้องหลังคำว่า "อัลฟาและโอเมกา"
คือตัวอักษรคำว่า "รัก" ในภาษากรีกนั่นเอง
ตัวแรกและตัวสุดท้า่ยของคำว่ารัก


ทูตสวรรค์ทั้งเจ็ด กับคริสตจักรทั้งเจ็ด ชื่อที่มีความหมายสอดคล้องกัน



ตารางนี้ดูเอาไว้เพื่อเข้าใจ 7 คริสตจักรอย่างเห็นภาพรวม

เยรูซาเล็ม นครแห่งศรัทธา (รวมคลิปจากรายการทีวี)

สารคดีอิสราเอล ผลงานของ Pierre Brouwers

บรรยายไทยในรายการทีวีของไทย


วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

รวมข้อพระคัมภีร์เกี่ยวกับน้ำท่วม



เยเรมีย์ 47:2
“พระเจ้าตรัสดังนี้ว่า   
ดูเถิด น้ำทั้งหลายกำลังขึ้นมาจากทิศเหนือ   
และจะกลายเป็นกระแสน้ำท่วม   
มันจะท่วมแผ่นดินและสารพัดซึ่งอยู่ในนั้น   
ทั้งเมืองและผู้ที่อาศัยอยู่ในเมือง   
คนจะร้องร่ำไร   
และชาวแผ่นดินนั้นทุกคนจะคร่ำครวญ..."


สดุดี 29:10
"...พระเจ้าประทับเหนือน้ำท่วม   
 พระเจ้าประทับเป็นพระราชาเป็นนิตย์..."


สดุดี 32:6-7
"...เพราะฉะนั้น ขอให้ธรรมิกชนทุกคนอธิษฐานต่อพระองค์   
 ในเวลาที่จะพบพระองค์ได้   
ในเวลาน้ำท่วมมาก   
 น้ำจะไม่มาถึงคนนั้น   
 พระองค์ทรงเป็นที่ซ่อนของข้าพระองค์   
 พระองค์ทรงสงวนข้าพระองค์ไว้จากความยากลำบาก   
 พระองค์ทรงล้อมข้าพระองค์ไว้ด้วยเพลงฉลองการช่วยกู้..."


สดุดี 69:13-16
13 "...ข้าแต่พระเจ้า  แต่ส่วนข้าพระองค์ 
ข้าพระองค์อธิษฐานต่อพระองค์   
ข้าแต่พระเจ้า  ในเวลาอันเหมาะสม   
โดยความรักมั่นคงอันอุดมของพระองค์  
ขอทรงโปรดตอบข้าพระองค์ ด้วยความอุปถัมภ์อย่างวางใจได้   
14 ขอทรงช่วยข้าพระองค์ให้พ้น   
จากจมลงในเลน   
ขอทรงช่วยกู้ข้าพระองค์จากคนที่เกลียดชังข้าพระองค์   
และจากน้ำลึก   
 15 ขออย่าให้น้ำท่วมข้าพระองค์   
หรือน้ำที่ลึกกลืนข้าพระองค์เสีย   
หรือปากแดนผู้ตายงับข้าพระองค์ไว้   
 16 ข้าแต่พระเจ้า   ขอทรงตอบข้าพระองค์
เพราะความรักมั่นคงของพระองค์นั้นเลิศ   
ขอทรงหันมาหาข้าพระองค์
ตามพระกรุณาอันอุดมของพระองค์..."


อิสยาห์ 25:4
"...เพราะพระองค์ได้ทรงเป็นที่กำบังเข้มแข็งของคนยากจน   
 ทรงเป็นที่กำบังเข้มแข็งของคนขัดสนเมื่อเขาทุกข์ใจ   
 ทรงเป็นที่กำบังจากพายุและเป็นร่มกันความร้อน   
  เพราะลมของผู้ที่ทารุณก็เหมือนพายุพัดกำแพง..."