ค้นหาข้อมูลจากบล็อกนี้

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

"น้ำเน่าเสีย" ปัญหาที่รอวันแก้ไข

ผู้ประกอบการแล่ปลา ปล่อยน้ำล้างเพื่อทำความสะอาดลงสู่ลำคลองโดยตรง
โดยไม่มีการบำบัด จึงส่งผลให้น้ำเน่าเสีย


ท่อระบายน้ำทิ้งจากหมู่บ้านที่อาจไม่มีการบำบัดอย่างถูกต้อง
ก็ปล่อยตรงเช่นกัน ซึ่งส่งผลให้น้ำเสียถูกสะสมมากขึ้น

ขยะ กลายเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกสักที
ความมักง่าย หรือปริมาณขยะต่อการบริโภคหนึ่งครั้ง
ส่งผลให้มีปริมาณมากขึ้น แม่น้ำลำคลองจึงเป็นแหล่งสุดท้าย
ที่ขยะจะไหลไปอยู่รวมกัน
ท่อน้ำทิ้งจากโรงงาน ก็ปล่อยลงสู่ลำคลอง

ผุ้ประกอบการสูบน้ำในลำคลอง ซึ่งเน่าเสียอยู่แล้วมาใช้ชะล้างพื้นที่
ซึ่งแน่นอนว่าความสะอาดจะมีสักกี่เปอร์เซ็นต์


แน่นอนว่าปัญหา "น้ำเน่า" ไม่ใช่ปัญหาของที่นี่ที่เดียว แต่มันเกิดไปทุกที่ที่มีน้ำขัง หรือแม้แต่น้ำไหลก็ตาม สาเหตุหลักๆ ก็คือการทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำ การปล่อยน้ำทิ้งลงในคูคลองหรือแม่น้ำ โดยไม่มีการบำบัดก่อน หรือการบำบัดถูกปล่อยปละละเลยจนทำไปอย่างนั้น นี่คือภาพข้อมูลเบื้องต้นของการนำไปสู่แก้ปัญหาในเรื่องนี้

หนึ่งในอาชีพของชาวสมุทรปราการ

ปลากระเบนเป็นตัวๆ ถูกนำมาแล่เนื้อปลาที่สมุทรปราการ

เนื้อปลาจะถูกแล่ออกมา ซึ่งดูเหมือนปลา 1 ตัวต่อ 1 ชิ้น
แต่จริงๆ คือ 1 ใน 100 ส่วน (หรือมากกว่านั้น) ของปลากระเบน
จากนั้นจะนำมาตากแดด

จนแห้งได้ที่แบบนี้

แล้วจะมาชุบน้ำตาล เพื่อเพิ่มความหวาน
สีของเนื้อปลากระเบนจะกลายเป็นสีส้มแบบนี้
ตากอีกหลายวัน และเก็บใส่กล่องเพื่อขาย
แบบนี้ขายปลีกที่ร้านปลาหมึกย่างชิ้นละ 20-25 บาท


หลายคนที่เคยกินปลาหมึกย่าง (แบบแตกแห้ง) คงต้องเคยกินหรือเคยเห็นปลาหวาน ปลาที่หลายคนคิดว่าคือปลาริวกิว มีรสหวาน ย่างกับเตาถ่าน ตัวสีส้มๆ แท้ที่จริงก็คือ "ปลากระเบน" นั่นเอง ผมไปสำรวจและสัมภาษณ์ที่มาที่ไปจึงทราบมาว่า เป็นปลาที่มาจากทะเลอินโดนีเซีย และซื้อมาจากตลาดมหาชัย ชาวบ้านที่ประกอบอาชีพแร่ปลา ตากปลา ซื้อมาแปรรูปเป็นอาหารตากแห้ง

สำรวจพื้นที่สมุทรปราการ

ผมเริ่มเข้าไปสำรวจและเก็บข้อมูลที่สมุทรปราการ ภาพที่เข้าใจว่าผู้คนที่นั่นพบเห็นเป็นประจำคือการปั้มน้ำออกจากพื้นถนนเกือบทุกเช้า
ทุกเช้าหน้าเทศบาลเมือง น้ำจะขึ้นและท่วมไหลเข้ามาในพื้นที่ถนน

ต้องปั้มน้ำออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา