นับตั้งแต่กรุงเทพฯ ส่วนเหนือถูกน้ำท่วม ผมเองและครอบครัวก็ไม่ต่างอะไรกับผู้อพยพลี้ภัยในหลายภาคส่วนของประเทศ ที่ต้องหนีน้ำออกจากบ้าน เพราะบ้านอยู่ไม่ได้ (อยู่ไม่ได้จริงๆ) คนที่บ้านยังไม่เคยโดนน้ำท่วมก็คงนึกไม่ออก
ผมเองออกมาจากบ้านก่อนที่น้ำจะท่วม เพราะความหวังดีของโรงเรียนที่ลูกชายทั้งสองเรียน ทางครูใหญ่เป็นห่วงในความปลอดภัยของเหล่าผู้ปกครองและเด็กนักเรียน เกรงว่าจะโกลาหลเหมือนในหลายๆ ที่จึงขอให้อพยพเสียแต่เนิ่นๆ เพราะการเคลื่อนของมวลน้ำที่มาในช่วงนั้น คาดเดายากเหลือเกิน บางครั้งมากลางค่ำกลางคืน ยังไม่ทันตั้งตัว น้ำก็ท่วมชั้นหนึ่งเรียบร้อยแล้ว
บ้านผมอยู่ในเขตบางเขน ติดกับเขตสายไหม โรงเรียนของลูกอยู่ในเขตสายไหมพอดี จึงเข้าข่ายเขตที่จะประสบภัยน้ำท่วมแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้
เนื่องจากผมเองยังคงมีงานค้างอยู่ที่จังหวัดราชบุรี ทันทีที่รู้ว่าต้องอพยพ ที่แรกที่คิดออกคือหัวหิน เพราะเผื่อว่าจะกลับมาทำงานที่ราชบุรีได้ สรุปก็คือ
1. ไปนอนหัวหิน 1 คืน
2. มาทำงานราชบุรี เลยตัดสินใจนอนค้างที่ราชบุรีต่อ ไปๆ มาๆ นอนที่ราชบุรีถึง 4 คืน (3 ที่)
จากนั้นก็จำเป็นต้องวางแผนใหม่ เพราะมีงานที่ต้องจังหวัดตรัง จึงต้องออกจากราชบุรี ข้ามมายังจ.ชลบุรีที่บางแสน โดยคำแนะนำของเพื่อนผู้ปกครองที่ปัญโญทัย
3. จึงมาพักที่บางแสน 1 สัปดาห์ (ส่วนตัวผมต้องระหกระเหินมาหาทางขึ้นเครื่องบินที่สุวรรณภูมิไปตรัง จากเดิมที่ต้องไปขึ้นที่ดอนเมือง ส่วนภรรยาและลูกต้องรออยู่ที่บางแสน)
หลังกลับจากตรัง เพื่อความประหยัด มีเพื่อนสนิทเสนอที่พักฟรีให้ อยู่แถวอ.บางละมุง เลยบางแสนไปอีก
4. นับแต่นั้นจึงมาอยู่ที่ อ.บางละมุงจนถึงทุกวันนี้
เพิ่งจะกลับมานอนบ้านทั้งครอบครัวก็เพิ่งวันนี้ (23 พย. 2011)
สรุปว่าการเป็นผู้อพยพหรือลี้ภัย ทำให้บางส่วนชองชีวิตเหมือนหายไป ทั้งๆ ที่มันก็อยู่กับเราทุกวัน ที่หายไปคือจังหวะชีวิตเดิมๆ การทำสิ่งเดิมๆ กินอาหารแบบเดิมๆ ทุกอย่างเปลี่ยนไปหมด
การเดินทางช่วงที่ผ่านมายาวนานขึ้น เวลาไปทำงานก็เดินทางนานขึ้น
ทำเรื่องยุคสุดท้ายมา 4-5 ปี เพิ่งรู้รสชาดของการลี้ภัย มันเป็นอย่างนี้นี่เอง มันเกินกว่าที่จะจินตนาการได้
ผมขอบคุณพระเจ้าที่ประเทศไทย แม้เกิดภัยพิบัติ เราก็ยังพอมีเวลาที่จะเตรียมตัว เตรียมใจล่วงหน้า เป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน
ภาพข่าวของแต่ละจังหวัดที่ประสบภัย เหมือนภาพยนตร์ที่ดูชมมาเรื่องแล้วเรื่องเล่า และชินชากับภาพที่เห็น และมองว่ายังไม่ใช่เรา จนประสบจริงถึงเข้าใจ เห็นใจ และเสียใจกับบางเรื่องบางเหตุการณ์ที่ได้สัมผัสตรง และชมข่าว
บางครั้งผมก็อดคิดไม่ได้ว่า ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น มันยังไม่เพียงพออีกหรือ ที่เราจะหยุดคิด หยุดตำหนิ แล้วหันมาตั้งคำถามกันว่า "เราจะทำอย่างไรกันต่อไปในปีหน้า?"
เรื่องนี้มันเพิ่งเริ่มต้น ในทัศนะของผม โลกกำลังจะปรับเปลี่ยนภูมิศาสตร์ครั้งใหญ่ แต่ใจเรากลับวุ่นวายกว่าเดิม
ปัญหาโลกร้อนเกิดขึ้นมากว่า 30 ปีแล้ว
“แต่ไม่มีใครรู้เรื่องวันหรือเวลานั้น แม้แต่พวกทูตในฟ้าสวรรค์หรือพระบุตร มีแต่พระบิดาเท่านั้น จงเฝ้าระวังและอธิษฐาน เพราะพวกท่านไม่รู้ว่าวันนั้นหรือเวลานั้นจะมาถึงเมื่อไหร่
ขอพระเจ้าอวยพระพร
ผมเองออกมาจากบ้านก่อนที่น้ำจะท่วม เพราะความหวังดีของโรงเรียนที่ลูกชายทั้งสองเรียน ทางครูใหญ่เป็นห่วงในความปลอดภัยของเหล่าผู้ปกครองและเด็กนักเรียน เกรงว่าจะโกลาหลเหมือนในหลายๆ ที่จึงขอให้อพยพเสียแต่เนิ่นๆ เพราะการเคลื่อนของมวลน้ำที่มาในช่วงนั้น คาดเดายากเหลือเกิน บางครั้งมากลางค่ำกลางคืน ยังไม่ทันตั้งตัว น้ำก็ท่วมชั้นหนึ่งเรียบร้อยแล้ว
บ้านผมอยู่ในเขตบางเขน ติดกับเขตสายไหม โรงเรียนของลูกอยู่ในเขตสายไหมพอดี จึงเข้าข่ายเขตที่จะประสบภัยน้ำท่วมแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้
เนื่องจากผมเองยังคงมีงานค้างอยู่ที่จังหวัดราชบุรี ทันทีที่รู้ว่าต้องอพยพ ที่แรกที่คิดออกคือหัวหิน เพราะเผื่อว่าจะกลับมาทำงานที่ราชบุรีได้ สรุปก็คือ
1. ไปนอนหัวหิน 1 คืน
19 ตุลาคม 2011 อพยพมาหัวหินเป็นที่แรก หลังรับข้อมูลจากโรงเรียน |
2. มาทำงานราชบุรี เลยตัดสินใจนอนค้างที่ราชบุรีต่อ ไปๆ มาๆ นอนที่ราชบุรีถึง 4 คืน (3 ที่)
20 ตุลาคม 2011 มานอนพักโฮมสเตย์คลองประดู่ จ.ราชบุรี |
21 ตุลาคม 2011 ที่ถ้ำเขาบิน จ.ราชบุรี (ฟรี) |
22-23 ตุลาคม 2011 คนราชบุรีใจดี ให้นอนบ้านเพื่อนของเขาที่เขางู อีก 2 คืน (ฟรี)เกรงใจอย่างยิ่งเลยกลับมาตั้งหลักที่กรุงเทพฯ |
จากนั้นก็จำเป็นต้องวางแผนใหม่ เพราะมีงานที่ต้องจังหวัดตรัง จึงต้องออกจากราชบุรี ข้ามมายังจ.ชลบุรีที่บางแสน โดยคำแนะนำของเพื่อนผู้ปกครองที่ปัญโญทัย
3. จึงมาพักที่บางแสน 1 สัปดาห์ (ส่วนตัวผมต้องระหกระเหินมาหาทางขึ้นเครื่องบินที่สุวรรณภูมิไปตรัง จากเดิมที่ต้องไปขึ้นที่ดอนเมือง ส่วนภรรยาและลูกต้องรออยู่ที่บางแสน)
24 ตุลาคม 2011 อยู่ที่บางแสนอีก 8 วัน |
หลังกลับจากตรัง เพื่อความประหยัด มีเพื่อนสนิทเสนอที่พักฟรีให้ อยู่แถวอ.บางละมุง เลยบางแสนไปอีก
4. นับแต่นั้นจึงมาอยู่ที่ อ.บางละมุงจนถึงทุกวันนี้
1 พฤศจิกายน 2011 มาพักที่ อ.บางละมุง |
เพิ่งจะกลับมานอนบ้านทั้งครอบครัวก็เพิ่งวันนี้ (23 พย. 2011)
ในบ้านชั้นหนึ่งน้ำลดลงแล้ว แต่ก็คงอยู่ยาก เพราะยุงเยอะ และเหม็นกลิ่นน้ำเน่า |
สรุปว่าการเป็นผู้อพยพหรือลี้ภัย ทำให้บางส่วนชองชีวิตเหมือนหายไป ทั้งๆ ที่มันก็อยู่กับเราทุกวัน ที่หายไปคือจังหวะชีวิตเดิมๆ การทำสิ่งเดิมๆ กินอาหารแบบเดิมๆ ทุกอย่างเปลี่ยนไปหมด
การเดินทางช่วงที่ผ่านมายาวนานขึ้น เวลาไปทำงานก็เดินทางนานขึ้น
ทำเรื่องยุคสุดท้ายมา 4-5 ปี เพิ่งรู้รสชาดของการลี้ภัย มันเป็นอย่างนี้นี่เอง มันเกินกว่าที่จะจินตนาการได้
ผมขอบคุณพระเจ้าที่ประเทศไทย แม้เกิดภัยพิบัติ เราก็ยังพอมีเวลาที่จะเตรียมตัว เตรียมใจล่วงหน้า เป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน
ภาพข่าวของแต่ละจังหวัดที่ประสบภัย เหมือนภาพยนตร์ที่ดูชมมาเรื่องแล้วเรื่องเล่า และชินชากับภาพที่เห็น และมองว่ายังไม่ใช่เรา จนประสบจริงถึงเข้าใจ เห็นใจ และเสียใจกับบางเรื่องบางเหตุการณ์ที่ได้สัมผัสตรง และชมข่าว
บางครั้งผมก็อดคิดไม่ได้ว่า ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น มันยังไม่เพียงพออีกหรือ ที่เราจะหยุดคิด หยุดตำหนิ แล้วหันมาตั้งคำถามกันว่า "เราจะทำอย่างไรกันต่อไปในปีหน้า?"
เรื่องนี้มันเพิ่งเริ่มต้น ในทัศนะของผม โลกกำลังจะปรับเปลี่ยนภูมิศาสตร์ครั้งใหญ่ แต่ใจเรากลับวุ่นวายกว่าเดิม
ปัญหาโลกร้อนเกิดขึ้นมากว่า 30 ปีแล้ว
“แต่ไม่มีใครรู้เรื่องวันหรือเวลานั้น แม้แต่พวกทูตในฟ้าสวรรค์หรือพระบุตร มีแต่พระบิดาเท่านั้น จงเฝ้าระวังและอธิษฐาน เพราะพวกท่านไม่รู้ว่าวันนั้นหรือเวลานั้นจะมาถึงเมื่อไหร่
มาระโก 13:32-33
ขอพระเจ้าอวยพระพร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น