ค้นหาข้อมูลจากบล็อกนี้
วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ผมอ่านหนังสือเยอะครับ
มีคนเคยถามผม (อีกครั้งหนึ่ง) ว่า "ไปเอาความรู้ (ทางพระคัมภีร์) มาจากไหน?"
ผมก็ตอบไปว่า "อ่านหนังสือเอาครับ"
เขาก็ถามต่อว่า "แล้วรู้เลยเหรอ"
ผมก็ชักจะไม่แน่ใจว่าจะตอบยังไงต่อดี เพราะถ้าถามตอบกันไปเรื่อยๆ จะเหมือนอวดตัวไปหรือเปล่า
เอาเป็นว่า ครั้งหนึ่ง!
ผมเคยเอาสิ่งที่อ่านๆ มาตั้งแต่เชื่อพระเจ้าช่วงอายุ 17-18 อ่านหมด ไม่ว่าจะพระคัมภีร์ ต่วยตูนฉบับพิเศษที่มีเรื่องประวัติศาสตร์ พอมีงานมีรายได้ ก็พัฒนาเป็นตำราฝรั่ง สะสมจากเล่มละ 100 เป็นเล่มละ 1000 ก็มี จนกระทั่งหลายร้อยเล่ม ทุกวันนี้ก็ยังซื้อตำราใหม่ๆ อยู่
แล้วก็ถึงเวลาได้ใช้!
ในช่วงก่อนปี 2000 เป็นอีกครั้งหนึ่งที่คนกลัวโลกแตกกัน (เหมือนปี 2012) ผมเขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่งชื่อว่า "ปี 2000 ไม่ใช่วันสิ้นโลก" เพื่อชี้แจงว่าโลกยังไม่แตก โดยใช้ข้อมูลจากพระคัมภีร์ไบเบิ้ล และพิมพ์ขายตามร้านหนังสือทั่วไป ผลปรากฏติดอันดับ 11 ในหมวดหนังสือคอมพิวเตอร์ของซีเอ็ด จนมีคนที่ซื้อไปอ่านบอกว่า อย่างกับคริสเตียนเขียน...
และอีกครั้ง ช่วงที่คริสเตียนถูกสั่นคลอนความเชื่อเกี่ยวกับนิยายดังของแดน บราวน์ เรื่อง "รหัสลับดาวินชี"
ผมก็เขียนหนังสือชี้แจงอีกหลายเล่ม รวมทั้งเขียนเป็นนิยายด้วย และเล่มที่หลายคนรู้จักก็คือ "แกะรอยแดน บราวน์ สืบรหัสลับดาวินชี" นี่ก็มาจากการอ่านหนังสือและสะสมตำรา จึงสามารถเรียบเรียงข้อมูล ข่าวสาร ทั้งอดีตในมุมมองของประวัติศาตร์ ทั้งปัจจุบันในเชิงเปรียบเทียบ และอนาคตในเชิงวิเคราะห์
ดังนั้น การบรรยายในการสัมมนาทุกครั้ง ผมต้องกลับไปอ่านหนังสือที่มีอยู่หลายรอบ และจัดทำขึ้นมาเป็นบทบรรยาย ทั้งภาพและข้อมูล รวมไปถึงคลิปวีดีโอ
การที่ใครก็ตามที่มาฟัง ย่อมได้รับประโยชน์ทั้งนั้นครับ หากใครสงสัยว่าผมไปเอาความรู้มาจากไหน?
ก็ขอตอบเหมือนเดิมว่า "ผมอ่านหนังสือเยอะครับ"
วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556
สัมมนา "กิจการ" ครั้งที่ 1
มาแล้วครับงานสัมมนาครั้งต่อไป "ที่เก่า เวลาเดิม" สำหรับท่านที่ยังไม่เคยมาสักครั ้ง ต้องรีบโทรสำรองที่นั่งล่วงหน้า นะครับ เพราะมีผู้ที่มาประจำอยู่แล้ว อย่าพลาด! เรื่องความรู้ในพระเจ้านะครับ..
- ถอดรหัสชื่อบุคคล “เธโอฟีลัส”? ที่ลูกาเขียนถึง เขาคือใคร? โดยแกะรอยจากภาษากรีก
- ...จากเยรูซาเล็ม ยูเดีย สะมาเรีย และที่สุดปลายแผ่นดินโลก...หมายถึงอะไรกันแน่?
- “ภาษาอื่นๆ” (หรือที่เรียกกันว่า “ภาษาแปลกๆ”) เกิดขึ้นครั้งแรกเพื่อใคร? และเพื่ออะไร?
- ใครปกครองอาณาจักรโรมัน (ซีซาร์) ในสมัยที่เกิดตุการณ์ในบันทึกหนังสือ “กิจการ”
- ลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ในยุคอัครทูต
- และร่วมเจาะลึก “กิจการ”บทที่ 1-8 แบบทุกบททุกข้อ*
วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556
สัมมนาครั้งต่อไปในเดือนกันยายน 2013 "กิจการ ครั้งที่ 1"
สัมมนาครั้งต่อไปในเดือนกันยายน 2013 "กิจการ ครั้งที่ 1" จะเรียนรู้อะไรบ้าง เอาตัวอย่างไปชมกันก่อน..
หลายคนอาจจะนึกไม่ถึงว่าคำพเพียง 30 กว่าปีที่อัครทูตทำงานอย่าง
จากบันทึกในหนังสือกิจการ เมื่อแบ่งเป็นช่วงๆ จะเห็นถึงการเป็นพยานที่เกิ
วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ภาษาอื่นๆ ตามที่พระวิญญาณทรงให้พูด ในหนังสิอกิจการ
กิจการ บทที่ 2 ข้อ 4 พวกเขาทั้งหมดก็เต็มเปี่ยมด้วยพ ระวิญญาณบริสุทธิ์ จึงเริ่มต้นพูดภาษาอื่นๆ ตามที่พระวิญญาณทรงให้พูด..
ถาม พวกเขาทั้งหมดพูดภาษาอื่นๆ (speak in other tongues) กันรวมกี่ภาษา มีภาษาอะไรบ้าง
ถาม พวกเขาทั้งหมดพูดภาษาอื่นๆ (speak in other tongues) กันรวมกี่ภาษา มีภาษาอะไรบ้าง
ตอบ ทั้งหมด 15 ภาษา ดังนี้...
1.ภาษาชาวปารเธีย
2.ภาษาชาวมีเดีย
3.ภาษาชาวเอลาม
4.ภาษาคนที่อยู่ในเขตแดนเมโสโปเ ตเมีย
5.ภาษาแคว้นยูเดีย
6.ภาษาแคว้นคัปปาโดเซีย
7.ภาษาแคว้นปอนทัส
8.ภาษาเอเชีย
9.ภาษาแคว้นฟรีเจีย
10.ภาษาแคว้นปัมฟีเลีย
11.ภาษาอียิปต์ (แขวงเมืองลิเบียซึ่งขึ้นกับนคร ไซรีน)
12. ภาษาคนมาจากกรุงโรม
13.ภาษาพวกยิวกับคนเข้าจารีตยิว
14.ภาษาชาวเกาะครีต
15.ภาษาชาวอาระเบีย
(อ้างอิง พระธรรมกิจการ บททที่ 2 ข้อที่ 5-11)
ในครั้งนั้นพระวิญญาณบริสุทธิ์ท ำให้พวกเขาพูดภาษาอื่นๆ ซึ่งเป็นภาษาต่างประเทศที่มีผู้ ที่มาจาก 15 แห่งในย่านนั้นฟังรู้เรื่อง และจึงสรรเสริญพระเจ้า
ข้อมูลจากหนังสือ Bible Maps & Charts (เราจะใช้ข้อมูลจากตำรานี้ในการ สัมมนาครั้งต่อไปด้วยครับ)
1.ภาษาชาวปารเธีย
2.ภาษาชาวมีเดีย
3.ภาษาชาวเอลาม
4.ภาษาคนที่อยู่ในเขตแดนเมโสโปเ
5.ภาษาแคว้นยูเดีย
6.ภาษาแคว้นคัปปาโดเซีย
7.ภาษาแคว้นปอนทัส
8.ภาษาเอเชีย
9.ภาษาแคว้นฟรีเจีย
10.ภาษาแคว้นปัมฟีเลีย
11.ภาษาอียิปต์ (แขวงเมืองลิเบียซึ่งขึ้นกับนคร
12. ภาษาคนมาจากกรุงโรม
13.ภาษาพวกยิวกับคนเข้าจารีตยิว
14.ภาษาชาวเกาะครีต
15.ภาษาชาวอาระเบีย
(อ้างอิง พระธรรมกิจการ บททที่ 2 ข้อที่ 5-11)
ในครั้งนั้นพระวิญญาณบริสุทธิ์ท
ข้อมูลจากหนังสือ Bible Maps & Charts (เราจะใช้ข้อมูลจากตำรานี้ในการ
วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556
สัมมนาครั้งต่อไป "เจาะลึก กิจการของอัครทูต"
คำนำ
นับแต่ศตวรรษที่สองเป็นต้นมาหนังสือเล่มนี้ใช้ชื่อว่า “กิจการของอัครทูต” แม้ต่อมามีบางคนเห็นว่าน่าจะเรียกว่า “กิจการของพระวิญญาณบริสุทธิ์” เพราะได้เห็นการทำงานของพระวิญญาณบริสุทธิ์ในเหตุการณ์ต่างๆ มากมาย หนังสือกิจการบันทึกเหตุการณ์ต่อจากกิตติคุณลูกาตามที่ผู้เขียนบอกไว้ในตอนต้น (1:1-3) ฉะนั้นผู้เขียนจึงนำเรื่องสุดท้ายของกิตติคุณลูกามาเกริ่นนำในเล่มนี้ (ลก. 24:48-53; กจ. 1:4-11)
ผู้เขียน
เชื่อว่านายแพทย์ลูกาเป็นผู้เขียนทั้งกิตติคุณลูกาและหนังสือกิจการ (ดู “ผู้เขียน” ในคำนำของกิตติคุณลูกา) เนื่องจากเหตุผลต่อไปนี้
1) ผู้รับกิตติคุณลูกาและหนังสือกิจการเป็นคนเดียวกันและเนื้อหาตอนต้นของหนังสือกิจการก็ระบุชัดว่าเป็นเล่มที่สองที่เขียนให้กับเธโอฟีลัสต่อจากเล่มแรกคือกิตติคุณลูกา
2) ลูกาเคยอยู่กับเปาโลขณะที่เปาโลถูกจำจองที่กรุงโรมเป็นเวลาสองปี (คส. 4:14; ฟม. 23-24) ทำให้ลูกาได้รับรู้ข้อมูลต่างๆ เป็นอย่างดี
3) ลูกาได้เดินทางร่วมกับคณะของเปาโลในการประกาศพระกิตติคุณตั้งแต่เมืองโตรอัส (16:10-17) จนกระทั่งถึงกรุงเยรูซาเล็ม (20:5-21:26) และกรุงโรม (27:1-28:16) ดังนั้นคำว่า “เรา” หรือ “พวกเรา” ในหลายตอนของหนังสือกิจการจึงน่าจะหมายถึงเปาโลและตัวลูกาผู้เขียนที่ได้ร่วมเดินทางไปประกาศพระกิตติคุณด้วย
เวลาและสถานที่เขียน
อาจเขียนขึ้นหลังกิตติคุณมัทธิว มาระโก ลูกา และเขียนหลังจากเปาโลถูกจักรพรรดิเนโรประหารชีวิต ฉะนั้นหนังสือกิจการจึงอาจเขียนขึ้นประมาณปี ค.ศ. 80 ขณะอยู่ที่กรุงโรมหรือเมืองหนึ่งในประเทศกรีซหรือแถบเอเชียน้อย
ผู้รับ
เนื้อหาตอนต้นบ่งบอกชัดเจนว่าผู้รับชื่อเธโอฟีลัส ซึ่งเป็นคนต่างชาติ
วัตถุประสงค์
1) เพื่อบันทึกประวัติการเผยแพร่พระกิตติคุณของพระเยซู และการสร้างคริสตจักรที่ประกอบด้วยชาวยิวและชาวต่างชาติ ลูกาต้องการชี้ให้เห็นว่า ข่าวประเสริฐไม่ได้จบลงที่การสิ้นพระชนม์และการคืนพระชนม์ของพระเยซู แต่สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือการป่าวประกาศข่าวดีนี้ให้โลกทราบ พวกอัครทูตเริ่มประกาศที่กรุงเยรูซาเล็ม ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของชาวยิวและเป็นจุดเริ่มต้นของคริสตจักรก่อน ต่อจากนั้นจึงแผ่ขยายออกไปถึงกรุงโรม ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรโรมัน (1:8; 28:30-31) จึงเป็นเหตุให้คนต่างชาติได้ยินพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ กจ. 1:8 เป็นพระดำรัสของพระเยซูที่พวกอัครทูตได้นำมาปฏิบัติ โดยมีขั้นตอนการประกาศพระกิตติคุณและสร้างคริสตจักรเป็นสามช่วงคือ
1. พวกอัครทูตสร้างคริสตจักรในกรุงเยรูซาเล็มโดยการประกาศแก่ชาวยิวเท่านั้น (2:1-8:3)
2. เมื่อการข่มเหงคริสตชนเริ่มต้นขึ้นในกรุงเยรูซาเล็ม ทำให้ข่าวประเสริฐแผ่ขยายไปทั่วแคว้นยูเดียและสะมาเรีย (8:4-9:31)
3. ข่าวประเสริฐแพร่ไปถึงกรุงโรมซึ่งถือว่าเป็นที่สุดปลายแผ่นดินโลก โดยพระเจ้าทรงใช้เปาโลเป็นเครื่องมือในการเดินทางไปประกาศ (9:32-28:31)
2) เพื่อชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างคริสตจักรและอาณาจักรโรมัน เปาโลและผู้ร่วมงานบางคนถูกฟ้องต่อหน้าเจ้าหน้าที่อาณาจักรโรมันหลายครั้ง (16:19-21; 18:12-13) แต่หลังจากสอบสวนแล้วพบว่าเปาโลและพวกคริสตชนไม่ได้ทำผิดกฎหมายของบ้านเมือง เช่นใน 16:35-39; 18:14-16
ลักษณะพิเศษของหนังสือกิจการ
ผู้เขียนเน้นพระราชกิจของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ตั้งแต่ตอนต้นของหนังสือเปิดฉากกล่าวถึงวันเพ็นเทคอสต์ไปจนถึงตอนจบของหนังสือซึ่งกล่าวถึงช่วงเวลาที่เปาโลถูกจับ (2:1-4; 6:3, 5; 8:15-17; 9:17, 31; 19:1-7; 21:4, 11) นอกจากนี้ลูกายังเน้นการก่อตั้งคริสตจักร และการทำให้เติบโตขึ้นโดยทางการสามัคคีธรรมระหว่างผู้เชื่อ (5:11; 9:31; 11:19-26; 14:23; 15:41; 16:5) ลูกายังชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการอธิษฐาน พี่น้องคริสตชนควรใช้เวลาในการอธิษฐานเผื่อซึ่งกันและกัน และอธิษฐานเผื่อพระราชกิจของพระเจ้า (1:14; 2:42; 4:24; 6:4-6; 13:3; 16:25; 20:36)
วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ประโยคที่ว่า "พระเจ้าของอับราฮัม อิสอัค และยาโคบ" มีความหมายว่าอย่างไร?
คำถามลองภูมิรู้..
ถามว่า.. ทำไมในพระัคัมภีร์เดิมถึงเรียกเช่นนี้ว่า "..เป็นพระเจ้าของอับราฮัม อิสอัค และยาโคบ" มีความหมายว่าอย่างไร? ใครพอจะรู้บ้าง..
ถามว่า.. ทำไมในพระัคัมภีร์เดิมถึงเรียกเช่นนี้ว่า "..เป็นพระเจ้าของอับราฮัม อิสอัค และยาโคบ" มีความหมายว่าอย่างไร? ใครพอจะรู้บ้าง..
คำตอบคือ...
เพราะทั้งอับราฮัม อิสอัค และยาโคบ อยู่ร่วมสมัยเดียวกัน ทั้งหมดอยู่ในเต็นท์เดียวกัน (ฮบ.11:9 เพราะความเชื่อของท่าน ท่านได้พำนักในแผ่นดินซึ่งพระเจ้าทรงสัญญาไว้นั้น คือได้พำนักในเต็นท์เป็นคนต่างด้าว ดังอิสอัคและยาโคบซึ่งเป็นทายาทด้วยกัน ตามพระสัญญาอันเดียวกันนั้น)
อิสอัคเกิดตอนอับราฮัมอายุ 100 ปี (ปฐก.21:5)
อับราฮัมอายุ 175 ปี จึงสิ้นชีวิต (ปฐก.25:7) แสดงว่าอิสอัคได้อยู่กับพ่อนาน 75 ปี
อิสอัคแต่งงานกับเรเบคาห์ตอนอายุ 40 ปี (ปฐก.25:20)
และมีลูกตอนอายุ 60 ปี (ปฐก.25:26)
ซึ่งสรุปได้ว่า ทั้งเอซาวและยาโคบ ลูกแฝดของอิสอัคได้พบและอยู่ร่วมสมัยกับปู่อับราฮัมนานถึง 15 ปีนั่นเอง
วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)