ค้นหาข้อมูลจากบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2561

Nativity Scene หรือ ฉากการประสูติของพระเยซูคริสต์ เกิดขึ้นเมื่อใด?

Nativity Scene หรือ ฉากการประสูติของพระเยซูคริสต์ เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1223 โดย Saint Francis of Assisi

การสร้างฉากการประสูติครั้งแรกเกิดขึ้นก็เพื่อปลูกฝังการนมัสการพระเยซูคริสต์ ตัว St Francis เอง ได้รับแรงบันดาลใจจากการไปเยือนดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ที่ซึ่งเขาได้ไปเบธเลเฮม ได้เห็นบ้านเกิดดั้งเดิมของพระเยซู

ซึ่งต่อมาเกิดความนิยมไปทั่วยุโรป เป็นแรงบันดาลใจให้ชุมชนทั่วประเทศคาทอลิกกระทำกันต่อมา เสมือนหนึ่งเป็นการแสดงละครใบ้ที่ไม่ต้องเล่าเรื่องราวอะไรมาก แค่ดูจากฉากเดียวก็พอ

และนี่อาจเป็นเหตุเริ่มต้นให้โหราจารย์มาอยู่ร่วมในเหตุการณ์เดียวก็ว่าได้ และตัดรายละเอียดอื่นๆ ที่มี เช่น สิโมโอนและนางอันนาออกไป โดยไม่ได้ตั้งใจ

https://en.wikipedia.org/wiki/Nativity_scene

https://en.wikipedia.org/wiki/Francis_of_Assisi

Nativity Scene หรือ ฉากการประสูติของพระเยซูคริสต์ 
เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1223 โดย Saint Francis of Assisi

Saint Francis of Assisi

Saint Francis of Assisi

วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2561

นักปราชญ์ค้นหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ (23 ธค.18)

เรื่องราวคริสตมาสที่มีมุมมองเชิงวิทยาศาสตร์โบราณระหว่างโหราศาสตร์และดาราศาสตร์ คือที่มาจากแหล่งเดียวกัน






























วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2561

คริสตมาสกลายเป็นประเพณีและวัฒนธรรมของโลกไปแล้ว

เราคงปฏิเสธไม่ได้แล้วว่า น้อยคนนักจะไม่รู้จักเทศกาลคริสตมาส เพราะทั้งห้างร้าน สถานบันเทิง ร้านค้า ร้านอาหาร โรงเรียน เอาไปใช้เป็นธีมงานเลี้ยงสังสรรค์ประจำปีไปแล้ว เกือบทั้งโลกก็ว่าได้

มีการค้นหาแหล่งที่มาของประเพณีต่างๆ ว่ามาได้อย่างไร (แค่ 400 กว่าปีมานี่เอง) ก็พบว่ามี 4 แหล่งใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงสู่ปัจจุบันคือ...
1. Culture-วัฒนธรรม
2. Decorations-เครื่องประดับตกแต่ง
3. Traditons-ประเพณี
4. Figures-บุคคล

ทั้ง 4 อย่างนี้ค่อยๆ หลอมหลวมจนเป็นเนื้อเดียวให้เราเห็นในปัจจุบัน และที่เพิ่มเติมมา นั่นก็คือของกิน ในเทศกาลคริสตมาส เกิดขึ้นมาในยุคหลังๆ จนกลายเป็นเสน่ห์ดึงดูดของแต่ะประเทศ

ทีนี้ พอใครบอกจะเล่าเรื่องราวที่แท้จริงของวันคริสตมาส ก็เลยไม่ค่อยมีใครใคร่อยากจะรู้แล้ว แค่สนุกสนานรื่นเริงบันเทิงใจก็พอ

ดังนั้น หน้าที่ของการเล่าเรื่องราวต้นกำเนิดที่แท้จริง จึงตกกับผู้เชื่อในปัจจุบัน ที่จะสื่อสารอย่างไรกับเพื่อนบ้านของเรา

จะไปพูดเชิงลบคงไม่ได้ เพราะทั้งต้นสน ซานตาคลอส และกวางเรนเดียร์ ดูเหมือนมาชิงพื้นที่ไปเกือบหมดแล้ว เหลือไว้เพียงชื่องาน Christmas-คริสตมาส ไว้ให้ต้นฉบับอย่างเราคิดหามุกมาเชิญชวนเพื่อนบ้านของเรา ลองคิดหาวิธีการดูนะครับ

ขอพระคุณและสันติสุข จงดำรงอยู่กับท่านในเทศกาลคริสตมาสนี้ด้วยเทอญ อาเมน


เซนต์นิโคลัส ไม่ใช่ที่มาของซานตาคลอส

จากบุคคลที่มีตัวตนจริง มาผสมรวมกับนิทานพื้นบ้าน เสริมแต่งจากนักเขียนการ์ตูน จนห้างเอาไปใช้ น้ำดื่มเอาไปพัฒนาสร้างภาพ สุดท้ายกลายเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลคริสตมาส แค่ 400 กว่าปีนี่เอง แล้วอย่าลืมต้นกำเนิดจริงๆ ด้วยนะครับพี่น้อง

(หมายเหตุ* หลายคนเข้าใจผิด คิดว่าเซนต์นิโคลัส คือที่มาของซานตาคลอส ซึ่งจริงๆ แล้ว มีที่มาต่างกันนะครับ เป็นบุคคลคนละคนกัน แต่ความมั่วบังเกิด เพราะมีคนอยากรู้ตำนาน เลยมีการโยงใยไปเรื่อยเปื่อย ไม่เพียงแต่ลดทอนเรื่องจริงๆ ยังปรุงแต่งจนโบสถ์คริสต์เองเอาไปใช้ด้วย น่าเห็นใจคนยุคปัจจุบันนี้จริงๆ)









ประวัติย่อที่มาของต้นสนวันคริสตมาส



ต้องบอกเลยว่าในคริสตมาสแรกไม่มีต้นสน แต่ถูกพัฒนามาหลายช่วงเวลา โดยเริ่มต้นจากศตวรรษที่ 7 มีการตัดต้นโอ๊กของพวกต่างความเชื่อของ เซนต์โบนีเฟซ และมีการสร้างสัญลักษณ์ใหม่ขึ้นมาทดแทน นั่นก็คือ สัญลักษณ์สามเหลี่ยม (Trinity-ตรีเอกานุภาพ) เพราะพวกเพแกนที่อังกฤษเคยนับถือเทพเจ้าจากต้นโอ๊ก เลยยังคงใช้ต้นไม้เป็นสัญลักษณ์เหมือนกัน (กลายเป็นต้นสนได้ไง ก็ไม่รู้แน่ชัดในตอนนั้น)

       ต่อมามีการนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ในช่วงเทศกาลคริสตมาสที่เยอรมันนี ในช่วงปี 1500

  • ปี 1521 Alsace บางเมืองของเยอรมันก็เริ่มใช้ต้นสนบ้าง
  • ปี 1539 ใช้ในวิหารที่ Strasbourg
  • ปี 1570 เริ่มมีการนำผลไม้มาตกแต่ง และแบ่งปันให้เด็กๆ กินในวันคริสตมาส
  • ปี 1700 มีการนำเทียนมาประดับที่ต้นสน และจุดในวันคริสตมาสอีฟ
  • ในช่วงแรกประมาณปี 1800 โบสถ์คาทอลิก เริ่มมีการใช้บ้าง และแพร่ไปทั่วออสเตรีย 
  • ปี 1840 ฝรั่งเศสก็ใช้บ้าง
  • แต่ที่อเมริกาเริ่มในปี 1816 และกลายเป็นต้นแบบให้กับทั้งโลก จวบจนปัจจุบัน
      ทีนี้ ก็คงคลายกังวลได้นะครับ ว่าต้นสนคริสตมาส ก็มีที่มาทางความเชื่อเหมือนกัน เพียงแต่ไม่ได้อยู่ในคริสตมาสแรกที่เบธเลเฮม แต่ถูกพัฒนามาจากการทดแทนความเชื่อเดิมของฝรั่งที่ไหว้ต้นไม้ (โอ๊ก) คล้ายๆ บ้านเราที่ยังมีการไหว้ต้นไม้เหมือนกัน (แต่เกี่ยวข้องกับหวย!)






ถ้าไม่ใช่ 25 ธันวาคม แล้วพระเยซูเกิดเดือนอะไรกันแน่?

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า วันที่ 25 ธันวาคม ไม่ใช่วันเกิดที่แท้จริงของพระเยซู แต่เป็นวันที่ถูกสร้างขึ้นทดแทนเทศกาลดั้งเดิมของชาวยุโรปในสมัยแรก และส่งผลให้ทั้งโลกเฉลิมฉลองตามๆ กันมาอย่างไม่ได้สงสัยอะไรเลย

และหากเราไปที่เบธเลเฮมในปัจจุบัน ก็จะพบว่ามีการเฉลิมฉลองต่างกันถึง 3 นิกาย นั่นคือ

  • คาทอลิก ฉลองวันที่ 25 ธันวาคม
  • ออโธดอกซ์ 6 มกราคม
  • อาร์มาเนียน 18-19 มกราคม

มีการศึกษาข้อมูลจากพระคัมภีร์ที่มีเบาะแสอยู่บ้าง ก็พอจะได้ข้อมูลเบื้องต้น จะเชื่อหรือไม่ก็ตาม ข้อมูลเหล่านี้ก็น่าสนใจ และมีความเป็นไปได้

ก็อยู่ที่ว่า ใครจะเปลี่ยนไปฉลองตามเดือนที่น่าจะเป็น หรือเกาะติดตามกระแสโลกต่อไป ก็ไม่ได้มีใครว่าอะไร แค่ขอเพียงยังคงรำลึกถึงความหมายดั้งเดิมก็แล้วกัน คือพระคริสต์มาครั้งแรกด้วยเจตนาอะไร และพระองค์ก็กำลังจะเสด็จมาครั้งที่สองด้วย อันนี้สำคัญพอๆ กับครั้งแรกนะครับ