ค้นหาข้อมูลจากบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ปลูกป่าที่เชียงราย

เมื่อวันที่ 23 กค. ผมได้รับเชิญจากคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติ ไปเป็นวิทยากรเสวนาเรื่อง "ปัญหาโลกร้อน มหันตภัยใกล้ตัว" ที่หอประชุม อบจ.เชียงราย

และในช่วงบ่ายก็ได้ไปร่วมกันปลูกป่าที่ ไร่เชิญตะวัน ของสถาบันวิมุตตยาลัย ซึ่งอยู่ในความดูแลของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี)

ในการปลูกป่าครั้งนี้ถือว่าเป็นกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมที่สุดตั้งแต่ผมบรรยายเรื่องโลกร้อนมากว่า 100 ครั้ง เพราะการบรรยายเพียงให้ความรู้ความเข้าใจซึ่งเป็นนามธรรมสร้างจิตสำนึก

หอประชุม อบจ.เชียงราย

มีผู้เข้าร่วมประชุมมากมาย

(จากซ้ายไปขวา) นพ.สมบูรณ์ ทศบวร, คุณศิริบูรณ์ ณัฐพันธ์,
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ,
ท่าน สว.จิราวรรณ จงสุทธนามณี วัฒนศิริธร,
คุณเจนจบ สุขสด และผม
เป็นวิทยากรร่วมกันเสวนา

ที่ไร่เชิญตะวันเป็นศูนย์วิปัสสนา

ผมกับท่านว.วชิรเมธี

วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สารคดี รักษ์เฉวง แก้ปัญหาน้ำเน่าเสียบนเกาะสมุย



ผมทำสารคดีชุดนี้ร่วมกับคุณชนะ (แปม) ชัยประเสริฐ โดยการสนับสนุนของเบสท์ แคร์ ผู้เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ "ไบโอกรีส" ซึ่งเป็นนาโนเทคโนโลยีในการบำบัดน้ำเน่าเสีย

สิ่งที่ผมทึ่งก็คือ เกิดน้ำเน่าในคลองน้ำจืดคือ "คลองเฉวง" ซึ่งอยู่บนเกาะสมุย เกาะที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทยเรา ที่เหลือเชื่อก็คือน้ำในคลองถูกปล่อยให้เน่าเสียจนน่าใจหาย

นับเป็นโชคดีที่มีคนทำ "ไบโอกรีส" ขึ้นมา ซึ่งมันคือจุลินทรีย์คัดสายพันธุ์ เอามันผสมน้ำแล้วปล่อยลงในน้ำเน่าตามสัดส่วน เพียงเดือนเดียวก็เห็นผล

หากใครสนใจอยากให้ไปช่วยแก้ปัญหาน้ำเน่า ก็ยินดีให้คำปรึกษาครับ

น้ำเน่าในคลองเฉวงเป็นสีดำสนิท

หลังจากใช้ "ไบโอกรีส" ภายใน 1 เดือน น้ำก็เริ่มใสจนน่าอัศจรรย์ราวปาฏิหารย์

โฆษณาฝรั่ง รณรงค์เรื่องโลกร้อน



ผมดูโฆษณาชิ้นนี้แล้ว สะท้อนใจอะไรบางอย่างเกี่ยวกับปัญหาโลกร้อนในปัจจุบัน เพราะจะว่าไปแล้ว ไม่ค่อยจะเห็นใคร (หมายถึงผู้มีอำนาจ) จะเดือดร้อนทำอะไรกันเลย..

เราขอบคุณบรรพบุรุษที่สร้างหลายสิ่งหลายอย่างให้กับเรา จึงมีโลกอย่างเช่นวันนี้

แต่แล้วพวกเราหละ ทำอะไรให้กับอนาคตของโลกบ้าง?

ตอนท้ายเหมือนกำลังจะบอกเราถ้าเราไม่ทำอะไร เด็กๆ ลูกหลานของเราก็จะออกมาเรียกร้องขอให้เราหยุดทำลายอนาคตของพวกเขา อนาคตของโลก!

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เรื่องโลกร้อน ยังคงดำเนินต่อไป

ปัญหาภาวะโลกร้อนยังคงดำเนินต่อไป ผมก็ยังคงบรรยายเรื่องนี้เป็นปีที่ 3 และมีมากว่า 100 แห่งที่ได้ฟังเรื่องนี้ ถ้าคิดเป็นจำนวนคนก็น่าจะเกิน 2,000 คนแล้ว และส่วนใหญ่ผู้ฟังในช่วงหลังๆ นี้เป็นเด็กนักเรียน เยาวชนของประเทศ ผู้ซึ่งจะต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลกอีก 20-30 ปีข้างหน้า รู้ก่อนก็ดีกว่าไม่รู้อะไรเลย

ผมไปบรรยายให้เด็กนักเรียนระดับประถมปลายฟังเรื่องโลกร้อน
ที่โรงเรียนย่านลาดกระบัง มีนักเรียนมาจาก 14 โรงเรียน
รวม 140 คน

ฟังเรื่องวิชาการเครียดๆ ต้องมีเกมผสมด้วยจึงจะไม่เบื่อ

มีกิจกรรมสนุกๆ จากพี่ปี 3 ลาดกระบัง