สวัสดีครับพี่น้องคริสเตียนทุกท่านพบกันฉบับแรกก็ขอตั้งคำถามเองตอบเองก่อนเลย เพราะยังไม่มีใครถามกันมา จริง ๆ แล้วคำถามที่ว่า “ทำไมคนในสมัยก่อนจึงเชื่อว่าโลกแบน?” นั้นผมเคยได้ยินคำถามนี้มาจากพี่น้องท่านหนึ่ง แล้วยังถามอีกว่า “มีพระคัมภีร์ข้อไหนบ้างที่บอกว่าโลกกลม?” ก็เป็นคำถามที่ตอบยากเอาการอยู่ ถ้าจะให้ตอบในทันทีเลยก็คงต้องตอบว่า “ไม่รู้เหมือนกัน” หรือ “ขอเวลาศึกษาดูก่อน” แล้วคำถามนี้ก็ค้างอยู่ในใจของคนถามตลอดไป เพราะคนตอบไม่รู้จะมาเฉลยเมื่อไหร่ คำถามนี้ก็ค้างอยู่ในใจของผมเหมือนกัน จึงต้องทำการค้นคว้าว่ามีพระคัมภีร์ตอนไหนบ้างที่บอกว่า โลกกลม ถ้าจะให้เปิดพระคัมภีร์ดูทุกหน้าคงจะใช้เวลามากเกินไป ดังนั้น ผมจะเริ่มต้นที่ “ศัพท์สัมพันธ์พระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับ 1971” โดยศจ.โรเบอร์ต นิชิโมโต๊ะ เป็นผู้จัดทำ
ดูจากศัพท์สัมพันธ์
ก็พบคำว่า “โลก” มี 368 แห่ง “ชาวโลก” 1 แห่ง “โลกธาตุ” 2 แห่ง “โลกบาดาล” 5 แห่ง “โลกปัจจุบัน” 1 แห่ง “โลกมนุษย์” 1 แห่ง และ “โลกใหม่” อีก 2 แห่ง ไม่มีแห่งไหนเลยที่จะสนับสนุนว่าโลกกลม มีแต่จะสนับสนุนว่าโลกแบน...
เช่นในพระคัมภีร์เดิม เฉลยธรรมบัญญัติ 13:7 กล่าวว่า “... ไม่ว่าใกล้หรือไกล จากสุดปลายแผ่นดินโลกข้างนี้ถึงสุดปลายแผ่นดินโลกข้างโน้น..” และบทที่ 26:65 อิสยาห์ 24:16; 41:9 เยเรมีย์ 16:19 ; 25:33 ก็กล่าวในทำนองเดียวกันว่า มีจุดปลายโลก โลกนั้นมีปลายข้างหนึ่งไปยังปลายอีกข้างหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้นพระคัมภีร์ใหม่ในหนังสือกิจการก็ยังมีข้อความที่กล่าวสนับสนุนอีกว่าโลกแบนคือ บทที่ 1:8 “... และท่านทั้งหลายจะเป็นพยานฝ่ายเราในเยรูซาเร็ม ทั่วแคว้นยูเดีย แคว้นสะมาเรีย และจนถึงที่สุดปลายแผ่นดินโลก” สุดปลายแผ่นดินโลก หรือว่าโลกเรานี้แบนจริง ๆ เพราะถ้าคิดตามจริง ๆ ง่าย ๆ ก็น่าจะเป็นอย่างนั้น คือพอเรานึกถึงอะไรที่มีปลายข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง มันต้องเป็นวัตถุที่แบน มีความยาวเดินทางเป็นเส้นตรงเมื่อเรามองดูโลกมันก็ตรง ๆ ไปไม่เห็นมีส่วนไหนโค้งให้เห็น ทีนี้เรามาดูกันต่อดีกว่าว่ามีใครบ้างในยุคโบราณที่เชื่อว่าโลกเรานี้แบนบ้าง
คนในยุคโบราณเชื่อกันต่อๆ มาว่า “โลกแบน”
ไม่เพียงแต่เชื่อว่าโลกแบนเท่านั้น ยังเชื่อว่าโลกเรานั้นเป็นศูนย์กลางของจักรวาลอีกด้วย พวกที่ตั้งสมมุติฐาน หรือสนใจเกี่ยวกับโลกกลมหรือแบนนั้นก็เห็นจะมีแต่พวกนักปรัชญาเท่านั้น เพราะชาวบ้านธรรมดาคงไม่สนใจกันเท่าไหร่ เมื่อประมาณ 624 ปีก่อนคริสตกาล ที่นครรัฐกรีก (ตอนนั้นยังไม่เป็นประเทศ) ได้กำเนิดชายคนหนึ่งชื่อธาเลส (Thales) ท่านคือนักปรัชญากรีก เป็นผู้ก่อตั้งสำนักไมเลตุส และได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของปรัชญาตะวันตก ท่านสามารถทำนายการเกิดสุริยคราสได้อย่างแม่นยำ มีชื่อเสียงขึ้นถึงขีดสุดเมื่อถูกแต่งตั้งให้เป็น 1 ใน 7 บัณฑิตกรีก ท่านมีความเชื่อว่าโลกมีลักษณะกลมแบน และลอยอยู่เหนือน้ำที่กว้างใหญ่ไพศาลหาของเขตมิได้โลกมีกำเนิดมาอย่างไร ท่านคิดหาคำตอบด้วยการสังเกตธรรมชาติรองตัวแล้ววิเคราะห์หาเหตุผลสนับสนุน ธาเลสมิได้อ้างตำนาน หรือเทพนิยายกรีกโบราณสนับสนุนการหาคำตอบของตนเองแต่อย่างใด (ชาวกรีกในยุคนั้นเชื่อว่า โลกถูกสร้างโดยเทพเจ้าต่างๆ) เมื่อธาเลสทำอย่างนี้นั้นก็แสดงว่าท่านเปิดโอกาสให้คนอื่นคิดตามอย่างเสรี ใครคิดตามแล้วอาจเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับทัศนะของท่านก็ได้ เท่ากับเป็นการเปิดศักราชให้กับการคิดแบบปรัชญาในสังคมกรีกโบราณก็ทำให้มีนักปรัชญาหลายสำนักเกิดขึ้นในยุคต่อมา มีทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดนี้ แต่ก็ทำให้เกิดอิทธิพลอย่างหนึ่งในด้านความคิด คือ ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะคิดเท่าเทียมกัน
![]() |
พลาโต้ และอริสโตเติ้ล |
(1) ผม หรือจิต ผู้คิดสงสัย
(2) โลก หรือวัตถุที่ถูกคิด ดังนั้นต้องพิสูจน์และก็ต้องตอบว่า โลกแบน เพราะสายตาบอกผมอย่างนั้น ผมมองไปข้างหน้า ผมเห็นแต่ทางราบยาวไปจรดของฟ้า ดังนั้นก็ต้องสรุปว่าโลกแบน เพราะผมเห็นว่ามันแบน ทัศนะของผมถูกเพราะมันเป็นความจริงในทัศนะผม (เราจะพบว่าคนในปัจจุบันก็มีความคิดเห็นแบบนี้อยู่เหมือนกัน) นั่นเป็นตัวอย่างของวิธีคิดแบบนักปรัชญาในยุคแรก ๆ และมีอิทธิพลต่อคนในยุคต่อมาด้วย
บุคคลต่อมาที่ทำให้ทัศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้อีก ท่านหนึ่งก็คือ พลาโต้ (Plato 427-347 ก่อนคริสตกาล) ท่านเชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ดวงดาวทั้งหลายโคจรรอบโลก วิถีโคจรของดวงดาวเป็นวงกลม การที่ดวงดาวและโลกเกาะกลุ่มกันอยู่เป็นระเบียบ เนื่องจากสิ่งเหล่านี้นมีวิญญาณสิงสถิตอยู่ ท่านสรุปว่าพระเจ้าเป็นผู้บงการ โดยการนำเทพนิยายโบราณมาอธิบายประกอบ ในเรื่องนี้ถือเป็นข้อด้อยอย่างหนึ่งในวิชาปรัชญาของพลาโต้ เพราะเทพนิยายไม่ใช่เหตุผลที่หนักแน่นพอสำหรับสนับสนุนทฤษฎีทางปรัชญา แต่เมื่อมองในทางประวัติศาสตร์ก็พบว่าเรื่องนี้มีอิทธิพลต่อแนวความคิดของนักปรัชญายุคต่อมาได้ยาวนานที่สุด ไม่ว่าจะเป็นอริสโตเติล ลัทธิพลาโต้ใหม่ หรือปรัชญาคริสต์ ล้วนได้รับอิทธิพลจากพลาโต้ทั้งสิ้น
ส่วนอริสโตเติล (Aristotle 384-322 ปีก่อนคริสตกาล) สังเกตพบว่าดวงดาวบนท้องฟ้าโคจรเป็นวงกลม จักรวาลเคลื่อนที่ตลอดเวลา การเคลื่อนที่ของสิ่งต่างๆ ในจักรวาลมีสาเหตุมาจากพลังภายนอกสิ่งเหล่านั้น เมื่อสาวหาสาเหตุแรกสุดของการเคลื่อนไหว ก็ได้คำตอบว่าปฐมเหตุแห่งการเคลื่อนไหวคือ พระเจ้าเป็นแบบบริสุทธิ์ พระเจ้าคือผู้ทำให้สรรพสิ่งเคลื่อนไหวโดยที่ตนเองไม่เคลื่อนไหว (Unmoved Mover) “การเคลื่อนไหว” หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทุกประการ ไม่ว่าในเชิงปริมาณ คุณภาพ หรือการเปลี่ยนสถานที่เนื่องจากพระเจ้าไม่ทรงเคลื่อนไหว เหตุฉะนั้นพระเจ้าจึงไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นอริสโตเติลจึงกล่าว่า “พระเจ้าเป็นภาวะที่ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์ทรงมีชีวิตต่อเนื่องเป็นนิตย์ นั่นคือพระเจ้า”
ความรู้ด้านจักรวาลของอริสโตเติลตั้งอยู่บนข้อมูลที่จำกัดของนักดาราศาสตร์สมัยนั้น ท่านเชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางจักรวาล ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวทั้งหมดโคจรรอบโลกเป็นวงกลม อริสโตเติลแบ่งจักรวาลออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนล่าง นับตั้งแต่ภายใต้ดวงจันทร์ลงมาถึงพื้นโลก และส่วนบนนับแต่ดวงจันทร์ขึ้นไปจนถึงดวงดาว สุดท้ายที่ขอบจักรวาล
![]() |
ปโตเลมี |
ในปี ค.ศ.1539 ได้มีผู้เขียนภาพระบบสุริยจักรวาล โดยถอดมาจากคำสอนของปโตเลมี และใช้ภาษาละติน วงกลมรอบนอกจะเป็น Habitaculum Dei หรือแหล่งพำนักของพระผู้เป็นเจ้า

สรุปได้ว่าปรัชญาของอริสโตเติลมีอิทธิพลอย่างมากต่อนักปรัชญาสมัยกลางนั้นคือ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและศาสนาอิสลาม ได้นำปรัชญามาช่วยอธิบายความสมเหตุสมผลของศาสนา ปรัชญาของท่านช่วยเสริมคำสอนได้เป็นอย่างดี
มาถึงยุควิทยาศาสตร์เริ่มต้น
![]() |
โคเพอร์นิคัส |

![]() |
โยฮันเนส เคปเลอร์ (ค.ศ. 1571-1630) ชาวเยอรมัน นักคณิตศาสตร์ และดาราศาตร์ |
ในตอนนั้นก็มีอีกท่านหนึ่งที่เชื่อตามแนวคิดของโคเพอร์นิคัสก็คือ กาลิเลโอ (Gaileo ค.ศ. 1564-1641) นักคณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ชาวอิตาลี และเป็นผู้ที่เคร่งครัดในสาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกท่านเกิดที่เมืองปิซา (เมืองที่มีหอเอียงที่โด่งดังจนติดอันดับสิ่งมหัศจรรย์ของโลก) ท่านได้เขียนจดหมายติดต่อกับเคปเลอร์เสมอและแจ้งว่าแนวคิดของโคเพอร์นิคัสถูกต้อง แต่กาลิเลโอไม่กล้าประกาศอย่างเปิดเผย เพราะแนวคิดนี้ขัดแย้งกับคำสอนของนักปรัชญาโบราณที่ผู้คนนับถืออยู่ คือ อริสโตเติล และแนทางของศาสนจักรในยุคนั้น
ในปี ค.ศ. 1609 มีข่าวจากฮอลแลนด์ว่า อันส์ ลิปเปอร์เซีย สร้างสิ่งประดิษฐ์ขึ้นใหม่ได้เป็นผลสำเร็จนั่นคือ “กล้องโทรทรรศน์” อุปกรณ์ที่ใช้เลนส์ดึงภาพแสนไกลให้เห็นเสมือนอยู่ใกล้ตา กาลิเลโอจึงลงมือสร้างกล้องโทรทรรศน์ของตนเองขึ้นมาบ้างในเวลาต่อมา ใช้เวลาไม่กี่เดือนก็ได้กล้องโทรทรรศน์กำลังขยาย 32 เท่า กล้องของเขาให้ภาพชัดเจน และกำลังขยายสูงกว่าของผู้คนในยุคนั้นอีกไม่นาน ต่อมาก็มีการใช้กล้องโทรทรรศน์แพร่หลายทั่วยุโรป
ปฏิวัติวงการดาราศาสตร์
![]() |
กาลิเลโอ |
ในปี 1611 ท่านเดินทางเข้ากรุงโรม นำกล้องโทรทรรศน์มาให้นักวิทยาศาสตร์ และบุคคลสำคัญได้ชมเป็นขวัญตา จนท่านได้รับคัดเลือกให้เข้าสมาคม “แอคคาเดมีย เดอิ ลินเชอิ (Accademiadia Lincei)” สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งโลก
ในปี 1613 ท่านเขียนหนังสือ Letter ob Sunspots เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ เป็นผลงานของการสังเกตการณ์ โดยใช้กล้องโทรทรรศน์และเป็นครั้งแรกที่กล่าวสนับสนุนแนวคิดของโคเพอร์นิคัสอย่างเปิดเผย ซึ่งนำไปสู่โทษทัณฑ์ร้ายแรงถึงขั้นจองจำตลอดชีวิต
![]() |
แกรนด์ดัชเชส คริสตินา |
ในปี 1616 กาลิเลโอถูกนำตัวขึ้นศาล ศาสนาถูกสั่งห้ามมิให้สอนไม่ให้เขียนสนับสนุนโคเพอร์นิคัสอีกต่อไป มิฉะนั้นจะต้องโทษจำคุก
ในปี 1623 ท่านเขียนหนังสือ Assayer เสนอหนทางสร้างโลกใหม่.. โลกที่เป็นจริงแทนที่จะอิงอยู่กับคำสอนดั้งเดิม และในปีเดียวกัน มาฟเฟโอ บาร์เบรินี่ เพื่อนเก่าของท่านได้รับการสถาปนาเป็นองค์สันตะปาปาเออร์บันที่ 8 และอนุญาตให้กาลิเลโอเขียนหนังสือเปรียบเทียบทฤษฎีทางศาสนศาสตร์ทั้งใหม่และเก่าได้อย่างเท่าเทียมกัน
![]() |
องค์สันตะปาปาเออร์บันที่ 8 |
ในปี 1633 ท่านจึงถูกจับตัวขึ้นศาลอีกครั้ง ท่านให้การต่อศาลศาสนาและยืนยันว่า การสังเกตการณ์ และข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ควรนำมาพิจารณาร่วมด้วย แต่ท้ายที่สุดท่านถูกบังคับให้รับว่างานของท่าล้ำเส้นมากไป หนังสือของท่านทุกเล่มถูกสั่งห้ามอ่าน หนังสือ Dialogue ถูกเก็บมาเผาทิ้งท่านถูกพิพากษาจำคุกตลอดชีวิต แต่องค์สันตะปาปาสั่งการให้ลดหย่อนผ่อนโทษเหลือเพียงจองจำให้อยู่ในบ้าน
ในปี 1637 แม้ท่านจะถูกจองจำ แต่ท่านก็ไม่เคยหยุดสังเกตการณ์ ท่านจึงค้นพบว่าดวงจันทร์มีการแกว่งสั่นกระเพื่อม เพราะเส้นศูนย์สุตรของดวงจันทรมิได้ตั้งฉากกับแกนการหมุนรอบตัวเอง
ในปี 1638 ท่านเขียนหนังสืออีก ชื่อว่า Discoures ซึ่งต้องลักลอบออกไปพิมพ์ต่างประเทศ เพราะถูกศาสนจักรสั่งห้าม (หนังสือเล่มนี้มีอิทธิพลต่อมากับผลงานของ ไอแซค นิวตัน)
กาลิเลโอขึ้นศาลศาสนาในข้อหา "ประพฤตินอกรีต ฝ่าฝืนแนวทางคาทอลิกอย่างร้ายแรง" |
ปี 1642-1727 ไอแซค นิวตัน ถือกำเนิดในปีที่กาลิเลโอเสียชีวิต ท่านได้นำงานของกาลิเลโอมาสานต่อในสังคมที่เห็นคุณค่าทางวิทยาศาสตร์ และในที่สุดท่านสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับวงการวิทยาศาสตร์ ถึงแม้ว่ากาลิเลโอจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่สนใจเรื่องของจักรวาล และดาราศาสตร์ แต่ท่านก็เป็นคาทอลิกที่เคร่งครัดเป็นอย่างมาก ท่านเขียนหนังสืออธิบายความรู้ เรื่องจักรวาลหลายร้อยหน้าโดยอ้างอ้งจากพระคัมภีร์ ท่านกล่าวข้อความตอนหนึ่งไว้ว่า “พระคัมภีร์และธรรมชาติ ต่างเป็นผลโดยตรงจากพระเจ้า ..พระคัมภีร์เกิดขึ้นเพราะการดลใจจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ และธรรมชาติเกิดขึ้นจากการเชื่อฟังคำตรัสของพระองค์” เช่นในหนังสือปฐมกาลตอนหนึ่งบันทึกว่า พระเจ้าตรัสว่า “จงมีความสว่างบนฟ้า เมื่อแยกวันออกจากคืน ให้ดวงสว่างเป็นหมายกำหนด ฤดู วัน ปี และให้เป็นดวงสว่างบนฟ้า เพื่อส่องสว่างบนแผ่นดินก็เป็นดังนั้น (ปฐมกาล 1:14-14)
บทลงท้าย
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์แท้จริงแล้วไม่ได้ขัดแย้งกับเรื่องของพระคัมภีร์ เพียงแต่ว่าความเข้าใจของยุคสมัยและการมีอิทธิพลต่อความคิดของผู้มีอำนาจนั้นต่างหากที่เป็นตัวบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลง ขอเพียงแต่เราเปิดใจออกให้กว้างสักนิด คิดแบบปรนัยคือ ให้ข้อพิสูจน์จากฝ่ายวัตถุเป็นหลัก ยกตัวอย่างเช่น เราอาจขอร้องให้นักวิทยาศาสตร์ส่งดาวเทียมขึ้นไปถ่ายภาพของโลก ปรากฏว่าโลกที่ปรากฎในภาพมีรูปทรงกลม เราเชื่อตามภาพนั้น ดังนั้นเราจึงสรุปว่าโลกกลม โดยอาศัยหลักฐานจากโลก หรือวัตถุ ใครจะคิดว่าโลกแบน ก็คิดไป แต่โลกในความเป็นจริง เป็นโลกกลม ความจริงที่ได้เป็นความจริงแบบปรนัยที่ไม่เกี่ยวกับทัศนะส่วนตัวของใคร ทีนี้ลองกับไปดูข้อพระคัมภีร์ที่กล่าวไว้ในตอนต้น ก็สรุปได้สุดปลายข้างหนึ่งไปถึงปลายอีกข้างหนึ่งของโลกเรานั้นก็เดินทางเป็นเส้นตรง แต่เป็นวิถีโค้งแล้วมาบรรจบกันเป็นวงกลมได้เหมือนกัน ดังนั้นถ้าเราจะตีความพระคัมภีร์โดยเอาทัศนะของตัวเราเองเป็นหลัก เรื่องก็จะออกมาเป็นวงแคบ ๆ และอาจจะครอบงำผู้อื่นได้ถ้าท่านเป็นผู้นำความคิด แต่ถ้าตีความจากพระคัมภีร์โดยเราต้องการจะค้นหาความหมายทีผู้เขียนต้องการจะบอกก็จะเป็นประโยชน์แก่เราเอง และผู้อื่นด้วย ผมหวังว่าพี่น้องที่เคยถามปัญหานี้ที่ว่า “โลกเรานี้กลมหรือแบน มีข้อพระคัมภีร์สนับสนุนหรือเปล่า?” ก็คงจะเข้าใจมากขึ้นนะครับ
บทความจาก "เรียนรู้อดีต ลิขิตอนาคต" (มิถุนายน 1999) โดย อ.อภิรักษ์ สอนพรินทร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น