ค้นหาข้อมูลจากบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เปโตร และ เปตรา สำนวนคำกรีก

ยังไม่จบอีกครับ เรื่องของ "‪เปโตร‬"

ชาวคาทอลิกตีความเป็นสถานที่ที่เปโตรถูกตรึงตาย

ชาวโปรแตสแตนท์ตีเป็นเรื่องจิตวิญญาณ หรือนามธรรม

แต่ยังมีอีกความหมาย...

จาก...มัทธิว บทที่ 16 ข้อ 18 ฝ่ายเราบอกท่านว่า ท่านคือ เปโตร และบน #‎ศิลานี้‬ เราจะสร้างคริสตจักรของเราไว้ และพลังแห่งความตายจะมีชัยต่อคริสตจักรนั้นหามิได้
κἀγὼ δέ σοι λέγω ὅτι σὺ εἶ ‎Πέτρος‬, καὶ ἐπὶ ταύτῃ τῇ ‪‎πέτρᾳ‬ οἰκοδομήσω μου τὴν ἐκκλησίαν, καὶ πύλαι ἅ|δου οὐ κατισχύσουσιν αὐτῆς.

ในตอนนี้ในภาษากรีกเป็นการเล่นคำครับ Πέτρος เปโตร กับ πέτρᾳ เปตรา ซึ่งทั้งสองคำมีความหมายถึง "‎ก้อนหิน‬"


และ เปตรายังเป็นสถานที่จริงๆ อีกด้วย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศจอร์แดน

"‪‎เปตรา‬" (จากภาษากรีก πέτρα แปลว่าหิน ภาษาอารบิก البتراء) คือนครหินแกะสลักโบราณที่ซ่อนตัวอย่างลึกลับในหุบเขาวาดี มูซา หุบเขาที่ตั้งอยู่ระหว่างทะเลเดดซีกับอ่าวอะกาบาในประเทศจอร์แดน นครนี้แต่เดิมนั้นเป็นนครแห่งการค้าขนาดใหญ่ซึ่งต่อมาถูกละทิ้งเป็นเวลานานกว่า 700 ปี

"เปตรา" เจริญถึงขีดสูงสุดในช่วง 50 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงค.ศ.70 ในช่วงเวลานี้เปตราถูกปกครองด้วยกษัตริย์นาม อารีตัสที่ 4 (Aretas IV) ผู้ที่ชาวกรีกยกย่องให้ว่า ฟิโลเดมอส (Philodemos) ซึ่งแปลว่า ผู้รักประชาชน และด้วยความมั่งคั่ง ความเป็นเมืองที่อยู่ห่างไกล และชัยภูมิอันยากแก่การพิชิต จึงทำให้เมืองมีโอกาสเจริญเติบโตได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องกลัวศัตรูจากภายนอก...

สรุปว่าพระเยซูอยากให้ เปโตร แข็งแกร่งดุจดัง เปตรา นั่นเอง เป็นสำนวนอ้างอิงถึงสถานที่จริง ที่หมายถึง แกร่งดังนครศิลาแห่งผูภาหิน ยากแก่การพิชิต





วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

แค่ปลื้มพระเยซู!

‎ถาม‬ คุณรักผมหรือเปล่า!
‎ตอบ‬ ...แต่ผมปลื้มคุณนะ!


ยอห์น บทที่ 21 ข้อ 15 เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้ว พระเยซูตรัสกับซีโมนเปโตรว่า “ซีโมนบุตรยอห์นเอ๋ย เจ้ารักเรามากกว่าเหล่านี้หรือ” เขาทูลพระองค์ว่า “เป็นความจริงพระเจ้าข้า พระองค์ทรงทราบว่าข้าพระองค์รักพระองค์” พระองค์ตรัสสั่งเขาว่า “จงเลี้ยงลูกแกะของเราเถิด”
15 Οτε οὖν ἠρίστησαν λέγει τῷ Σίμωνι Πέτρῳ ὁ Ἰησοῦς, Σίμων Ἰωάννου, ‪‎ἀγαπᾷς‬ με πλέον τούτων; λέγει αὐτῷ, Ναί, κύριε, σὺ οἶδας ὅτι ‪‎φιλῶ‬ σε. λέγει αὐτῷ, Βόσκε τὰ ἀρνία μου.

16 พระองค์ตรัสกับเขาครั้งที่สองว่า “ซีโมนบุตรยอห์นเอ๋ย เจ้ารักเราหรือ” เขาทูลตอบพระองค์ว่า “เป็นความจริงพระเจ้าข้า พระองค์ทรงทราบว่าข้าพระองค์รักพระองค์” พระองค์ตรัสกับเขาว่า “จงดูแลแกะของเราเถิด”
16 λέγει αὐτῷ πάλιν δεύτερον, Σίμων Ἰωάννου, ἀγαπᾷς με; λέγει αὐτῷ, Ναί, κύριε, σὺ οἶδας ὅτι φιλῶ σε. λέγει αὐτῷ, Ποίμαινε τὰ πρόβατά μου.

17 พระองค์ตรัสกับเขาครั้งที่สามว่า “ซีโมนบุตรยอห์นเอ๋ย เจ้ารักเราหรือ” เปโตรก็เป็นทุกข์ใจที่พระองค์ตรัสถามเขาครั้งที่สามว่า “เจ้ารักเราหรือ” เขาจึงทูลพระองค์ว่า “พระองค์เจ้าข้า พระองค์ทรงทราบทุกสิ่ง พระองค์ทรงทราบว่า ข้าพระองค์รักพระองค์” พระเยซูตรัสกับเขาว่า “จงเลี้ยงแกะของเราเถิด
17 λέγει αὐτῷ τὸ τρίτον, Σίμων Ἰωάννου, ‪‎φιλεῖς‬ με; ἐλυπήθη ὁ Πέτρος ὅτι εἶπεν αὐτῷ τὸ τρίτον, Φιλεῖς με; καὶ λέγει αὐτῷ, Κύριε, πάντα σὺ οἶδας, σὺ γινώσκεις ὅτι φιλῶ σε. λέγει αὐτῷ [ὁ Ἰησοῦς], Βόσκε τὰ πρόβατά μου.

จากบทสนทนาในหนังสือยอห์นตอนนี้จะเห็นว่า ในภาษากรีก พระเยซูถามในภาษากรีกว่า "ἀγαπᾷς (อากาปาส)" หรือ "รักแท้" แค่ 2 ครั้ง แต่เปโตรกลับตอบ "φιλῶ" หรือ "ผมปลื้มคุณนะ (แบบเพื่อนกัน)" 2 ครั้ง
จนครั้งสุดท้ายพระเยซูจึงเปลี่ยนมาใช้ตามเปโตรว่า "φιλεῖς (ฟีลีส)" หรือ "แค่ปลื้มเราหรือ!"

ชีวิตจริงของหลายคน ก็คงเป็นแบบนี้เหมือนกัน หลายคนอาจแค่ปลื้มพระเยซู มองพระเยซูเป็นสหายยามที่เขาทุกข์โศกเศร้า หรือมองแค่พระองค์เป็นผู้มาช่วย แล้วจบกัน พอพระองค์ถามกลับ และให้ช่วยดูแลงานแทน กลับลังเลที่จะทำ...

ลองถามตัวเราเองว่า เราแค่ปลื้มพระเยซู หรือรักพระองค์จริงๆ!

*หมายเหตุ ส่วนคำว่า "αγάπη (อากาเป้, อากาปี)" เป็๋นคำนามนะครับ ไม่ใช่คำกริยา อาจมีบางท่านยังใช้ไม่ตรงหลักอยู่นะครับ ไหนๆ ก็ใช้ภาษากรีกสอนแล้ว ใช้ให้ตรงกันด้วยนะครับ

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เจาะลึก "ดาเนียล" เร็วๆ นี้

หัวข้อสัมมนาครั้งต่อไป "‪ดาเนียล‬" โปรดติดตาม เร็วๆ นี้่