ค้นหาข้อมูลจากบล็อกนี้
วันอังคารที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2560
วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2560
วันพุธที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2560
มัทธิว บทที่ 5 คำเทศนาบนภูเขา ไม่ได้มีแค่เรื่อง "ผู้เป็นสุข"
ปกติผมจะไม่ลงเรื่องการบรรยายก่อนวันจริง แต่ครั้งนี้เห็นว่าสำคัญ และมักจะถูกมองข้ามไป เมื่อเราศึกษาถึงเรื่อง "คำเทศนาบนภูเขา" ของพระเยซู ที่ได้กล่าวเอาไว้ โดยมัทธิวเป็นผู้บันทึกเรื่องราว
ผมมาจับประเด็นเรื่อง การพูดจากับพี่น้องว่า "อ้ายโง่" และ "อ้ายบ้า" และรู้ถึงความเข้าใจได้ระดับหนึ่ง เพราะอ่านเรื่องนี้ตั้งแต่เป็นวัยรุ่นเมื่อเกือบ 30 ปีมาแล้ว เป็นฉบับแปล 1971
แต่เมื่อมาอ่านฉบับแปลใหม่ (2011) ก็จะได้ความหมายที่แตกต่างกันออกไปอย่างมาก
และเมื่อยิ่งเจาะลึกเข้าไปในรายละเอียด ทั้งช่วงเวลา สถานที่ และบรรยากาศในยุคนั้น ยิ่งเข้าใจบริบทมากขึ้น
จึงรู้ว่ามาว่ายุคนั้น มีผู้คนหลายกลุ่ม ตั้งตน รวมกลุ่มกันเป็นกูรูพระคัมภีร์ อาทิเช่น พวกฟาริสี และพวกสะดูสี และอีกหลายกลุ่มที่โยงการเมือง แต่กลุ่มที่ดูเหมือนกำลังมาแรงในตอนนั้นก็คือ กลุ่มพวกเอสเซนีส ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากกลุ่มอื่นๆ โดยสิ้นเชิง แม้ว่าจะสนใจในเรื่องเดียวกัน
บันทึกโบราณกำลังสะท้อนความจริงที่ว่ากลุ่มคนพวกนี้เกี่ยวโยงกับ ยอห์น ผู้ให้บัพติสมา และอีกคนหนึ่งก็คือ พระเยซู
ลองศึกษาข้อมูลเล่านี้ดูครับ
ข้อมูลเหล่านี้ อาจเป็นความสนใจเฉพาะกลุ่ม แต่ก็สามารถตอบโจทย์เราได้ในเรื่อง พระเยซูหายไปไหนในช่วง 12-30 ปี (ไมได้ไปอินเดียอย่างที่มีตำราบางเล่มเอ่ยอ้างถึง) แต่มาอยู่กับพวกเอสเซนีส และคัดลอกพระคัมภีร์ และจดจำพระคำนั้นอย่างชำนาญ จนถึงเวลาใช้อย่างเหมาะสม
มัทธิว บทที่ 5 ข้อ 17 - 19 สะท้อนมุมองของกลุ่มเอสเซนีสค่อนข้างชัดเจน จึงเป็นเหตุให้นักเขียนหลายเล่มพุ่งประเด็นว่าพระเยซูเกี่ยวโยงกับพวกนี้ ที่สำคัญ พระเยซูยังสอนให้ผู้คนรู้ว่า พระองค์สนับสนุนการที่ธรรมบัญญัติของโมเสส ไม่ได้มาล้มเลิก แต่ทำให้ชัดเจน สมบูรณ์แบบ
เหตุที่ว่าเช่นนี้ เพราะพวกฟาริสี และสะดูสี แต่งเติมเพิ่มข้อมูลเรื่องการถือธรรมบัญญัติจนเกินความจำเป็น และพระองค์ก็ตำหนิพวกฟาริสีมาตลอด จนจทำให้พวกนี้คอยลองดีกับพระองค์ตลอดเวลาที่มีโอกาส
ศาลสูงในมัทธิว บทที่ 5 ข้อ 22 หมายถึงศาลสูงที่มีจริง ซึ่งหมายถึงสภาแซนเฮดริน นั่นจึงพบว่าพระเยซูก็ให้การยอมรับระบบการปกครองที่มีอยู่ด้วย แต่จุดประสงค์ของเรื่องนี้ก็คือ การปรองดอง และปล่อยให้หน้าที่ การแก้แค้น เป็นหน้าที่ของพระเจ้า
เพราะหน้าที่ของมนุษย์คือ รักพระเจ้าสุดจิตสุดใจ สุดกำลัง สุดความคิด... และรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง
อย่าไปทำหน้าที่แทนพระเจ้าเลยครับ เพราะสุดท้าย มันจะวนกลับมาที่เราเอง!
ผมมาจับประเด็นเรื่อง การพูดจากับพี่น้องว่า "อ้ายโง่" และ "อ้ายบ้า" และรู้ถึงความเข้าใจได้ระดับหนึ่ง เพราะอ่านเรื่องนี้ตั้งแต่เป็นวัยรุ่นเมื่อเกือบ 30 ปีมาแล้ว เป็นฉบับแปล 1971
แต่เมื่อมาอ่านฉบับแปลใหม่ (2011) ก็จะได้ความหมายที่แตกต่างกันออกไปอย่างมาก
และเมื่อยิ่งเจาะลึกเข้าไปในรายละเอียด ทั้งช่วงเวลา สถานที่ และบรรยากาศในยุคนั้น ยิ่งเข้าใจบริบทมากขึ้น
จึงรู้ว่ามาว่ายุคนั้น มีผู้คนหลายกลุ่ม ตั้งตน รวมกลุ่มกันเป็นกูรูพระคัมภีร์ อาทิเช่น พวกฟาริสี และพวกสะดูสี และอีกหลายกลุ่มที่โยงการเมือง แต่กลุ่มที่ดูเหมือนกำลังมาแรงในตอนนั้นก็คือ กลุ่มพวกเอสเซนีส ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากกลุ่มอื่นๆ โดยสิ้นเชิง แม้ว่าจะสนใจในเรื่องเดียวกัน
บันทึกโบราณกำลังสะท้อนความจริงที่ว่ากลุ่มคนพวกนี้เกี่ยวโยงกับ ยอห์น ผู้ให้บัพติสมา และอีกคนหนึ่งก็คือ พระเยซู
ลองศึกษาข้อมูลเล่านี้ดูครับ
มัทธิว บทที่ 5 ข้อ 8 กำลังกล่าวถึงวิธีที่พวกเอสเซนีสคัดลอกพระคัมภีร์แบบซีเรียส |
ไม่แต่งงาน ทำตัวเป็นผู้บริสุทธิ์ |
คนกลุ่มนี้ทำตัวบริสุทธิ์ในทุกๆ ด้าน เพื่อการคัดลอกพระคัมภีร์จะไม่มีมลทินมาเกี่ยวข้อง |
หนังสือเกี่ยวกับกลุ่มเอสเซนีส หลายเล่มโยงถึงพระเยซู |
ข้อมูลเหล่านี้ อาจเป็นความสนใจเฉพาะกลุ่ม แต่ก็สามารถตอบโจทย์เราได้ในเรื่อง พระเยซูหายไปไหนในช่วง 12-30 ปี (ไมได้ไปอินเดียอย่างที่มีตำราบางเล่มเอ่ยอ้างถึง) แต่มาอยู่กับพวกเอสเซนีส และคัดลอกพระคัมภีร์ และจดจำพระคำนั้นอย่างชำนาญ จนถึงเวลาใช้อย่างเหมาะสม
มัทธิว บทที่ 5 ข้อ 17 - 19 สะท้อนมุมองของกลุ่มเอสเซนีสค่อนข้างชัดเจน จึงเป็นเหตุให้นักเขียนหลายเล่มพุ่งประเด็นว่าพระเยซูเกี่ยวโยงกับพวกนี้ ที่สำคัญ พระเยซูยังสอนให้ผู้คนรู้ว่า พระองค์สนับสนุนการที่ธรรมบัญญัติของโมเสส ไม่ได้มาล้มเลิก แต่ทำให้ชัดเจน สมบูรณ์แบบ
เหตุที่ว่าเช่นนี้ เพราะพวกฟาริสี และสะดูสี แต่งเติมเพิ่มข้อมูลเรื่องการถือธรรมบัญญัติจนเกินความจำเป็น และพระองค์ก็ตำหนิพวกฟาริสีมาตลอด จนจทำให้พวกนี้คอยลองดีกับพระองค์ตลอดเวลาที่มีโอกาส
พวกฟาริสี: ส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจชนชั้นกลาง และดังนั้นจึงติดต่อกับคนธรรมดาทั่วไป พวกฟาริสีถูกจัดเป็นพวกที่น่านับถืออย่างสูงจากคนทั่วไปยิ่งกว่าพวกสะดูสี แม้ว่าพวกเขาจะเป็นชนกลุ่มน้อยในศาลสูงสุด และมีจำนวนน้อยที่ดำรงตำแหน่งปุโรหิต พวกเขาดูเหมือนจะควบคุมคำตัดสินของศาลสูงสุดมากมากกว่าที่พวกสะดูสีกระทำ และเพราะพวกเขาได้รับการสนับสนุนจากประชาชน
ในแง่ศาสนา พวกเขาได้ยอมรับว่าพระคัมภีร์ได้รับการดลใจจากพระเจ้าให้เขียนไว้ ในช่วงเวลาที่พระคริสต์ทรงปฏิบัติราชกิจในโลกนี้ นี่น่าจะเป็นสิ่งที่ตอนนี้คือพันธสัญญาเดิมของเรา แต่พวกเขายังให้ความน่าเชื่อถือเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีที่บอกเล่าปากเปล่าต่อๆ กันมา และพยายามที่จะรักษาไว้โดยบอกว่ามันเป็นไปตามแนวทางของโมเสส วิวัฒนาการขึ้นไปหลายศตวรรษ ประเพณีเหล่านี้ได้เข้าไปรวมในพระวจนะของพระเจ้า ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้าม
พวกสะดูสี: ในช่วงเวลาของพระคริสต์และยุคพันธสัญญาใหม่ พวกสะดูสีจัดเป็นพวกชนชั้นขุนนาง พวกเขามีแนวโน้มเป็นผู้มั่งคั่งและดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจ รวมทั้งตำแหน่งปุโรหิตใหญ่และมหาปุโรหิต และพวกเขาเป็นชนกลุ่มใหญ่ที่ครอง 70 ที่นั่งของสภาการปกครองที่เรียกว่าศาลสูงสุด
พวกเขาทำงานหนักเพื่อรักษาความสงบสุขสอดรับกับคำตัดสินของกรุงโรม (อิสราเอลในเวลานี้อยู่ภายใต้การปกครองโดยพวกโรมัน) และพวกเขาดูเหมือนจะเข้าเกี่ยวข้องด้านการเมืองมากกว่าด้านศาสนา เพราะพวกเขาให้ปรับตัวให้เหมาะกับกรุงโรม และพวกเขาเป็นชนชั้นสูงที่มีความมั่งคั่ง พวกเขาไม่ได้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนธรรมดาทั่วไป และคนทั่วไปก็ไม่ยกย่องนับถือพวกเขามาก คนธรรมดาทั่วไปมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเหล่าคนที่เป็นพวกฟาริสี
แม้ว่าพวกสะดูสีถือครองที่นั่งส่วนใหญ่ในศาลสูง ประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่าพวกเขาจะต้องไปเข้าร่วมกับความคิดของชนกลุ่มน้อยฟาริสี เพราะพวกฟาริสีเป็นที่นิยมท่ามกลางฝูงชนส่วนใหญ่
ในด้านศาสนา พวกสะดูสีเป็นพวกอนุรักษ์นิยมในหลักคำสอนอย่างหนึ่ง พวกฟาริสีเล่าปากเปล่าขนบธรรมเนียมประเพณีถ่ายทอดสู่รุ่นต่อไปพอๆ กับรักษาความน่าเชื่อถือแห่งพระวจนะของพระเจ้าที่บันทึกไว้ ในขณะที่พวกสะดูสีนับถือเฉพาะพระวจนะที่บันทึกไว้ว่าสิ่งนี้มาจากพระเจ้า พวกสะดูสีสงวนรักษาความน่าเชื่อถือของพระคำของพระเจ้าที่บันทึกไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือหลายเล่มที่เขียนโดยโมเสส (ปฐมกาลจนถึงเฉลยธรรมบัญญัติ) ขณะที่พวกเขาควรได้รับการยกย่องสำหรับเรื่องนี้ แน่นอนพวกเขาไม่ได้เป็นคนสมบูรณ์แบบในมุมมองหลักความเชื่อ ต่อไปนี้เป็นรายการหลักข้อเชื่อสั้นๆ ที่พวกเขายึดถือซึ่งขัดแย้งกับพระคัมภีร์
- พวกเขาพอใจที่สุดต่อประเด็นที่ปฏิเสธว่าพระเจ้าทรงเข้ามามีส่วนในชีวิตประจำวัน
- พวกเขาได้ปฏิเสธการฟื้นคืนพระชนม์จากตาย (มัทธิว 22:23; มาร์ค 12: 18-27; บารมี 23: 8)
- พวกเขาได้ปฏิเสธชีวิตหลังความตาย ถือว่าจิตวิญญาณตายไปหลังจากเสียชีวิต และดังนั้นจึงปฏิเสธการลงโทษ หรือบำเหน็จรางวัลหลังความตายฝ่ายโลก
- พวกเขาได้ปฏิเสธการดำรงอยู่ฝ่ายวิญญาณ เช่น ทูตสวรรค์และมารร้าย (กิจการ 23: 8)
เพราะพวกสะดูสีเข้ายุ่งเกี่ยวกับการเมืองมากกว่าศาสนา พวกเขาไม่สนใจเรื่องพระเยซู จนกระทั่งพวกเขากลัวว่าพระองค์อาจจะชักนำพาคนโรมันที่พวกเขาไม่ต้องการเข้ามาพัวพัน ตรงประเด็นนี้แหละที่พวกสะดูสีและพวกฟาริสีรวมหัวสมคบกันเพื่อปลงพระชนม์พระคริสต์
ศาลสูงในมัทธิว บทที่ 5 ข้อ 22 หมายถึงศาลสูงที่มีจริง ซึ่งหมายถึงสภาแซนเฮดริน นั่นจึงพบว่าพระเยซูก็ให้การยอมรับระบบการปกครองที่มีอยู่ด้วย แต่จุดประสงค์ของเรื่องนี้ก็คือ การปรองดอง และปล่อยให้หน้าที่ การแก้แค้น เป็นหน้าที่ของพระเจ้า
เพราะหน้าที่ของมนุษย์คือ รักพระเจ้าสุดจิตสุดใจ สุดกำลัง สุดความคิด... และรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง
อย่าไปทำหน้าที่แทนพระเจ้าเลยครับ เพราะสุดท้าย มันจะวนกลับมาที่เราเอง!
ชมคลิปตอนท้าย
วันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ที่มาของพวก "ฟาริสี" และ "สะดูสี"
มีคนสงสัยว่าพวกนี้มีที่มาจากไหน เชิญดูข้อมูลเหล่านี้ได้เลยครับ เพื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้น
ฟาริสี เป็นกลุ่มผู้นำทางศาสนาของชาวยิวที่มีบทบาทสำคัญในปาเลสไตน์ เกิดขึ้นจากกลุ่มคนที่มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะประพฤติตามกฎบัญญัติทุกข้อที่ปรากฏในธรรมบัญญัติของโมเสส
ในสมัยพระคัมภีร์ใหม่ผู้นำทางศาสนาของยิวแบ่งออกเป็นสองพรรคใหญ่ๆ พรรคที่มีจำนวนสมาชิกมากกว่าคือ พรรคฟาริสี อีกพรรคหนึ่งคือพรรคสะดูสี สองพรรคนี้เกิดขึ้นในสมัยที่ประเทศกรีกปกครองปาเลสไตน์ ในราวปี 200 ก่อน ค.ศ.
พวกฟาริสีเคร่งครัดในเรื่องการถือขนบธรรมเนียมประเพณี โดยเฉพาะข้อห้ามต่างๆ พวกเขาถือว่าพระเจ้าไม่พอพระทัยผู้ใดเลยนอกจากพวกเขา พวกเขาจึงไม่ยอมคบกับคนต่างชาติหรือชาวยิวที่ไม่เคร่งศาสนา
พวกฟาริสีพยายามตีความบทบัญญัติและกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้การปฏิบัติ ครอบคลุมการดำเนินชีวิตทุกด้าน จึงเกิดกฎบัญญัติเพิ่มขึ้นอีกหลายร้อยข้อที่ไม่มีในพระคัมภีร์ กลายเป็นบัญญัติข้อหยุมหยิมเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เช่น การถือพิธีล้างชำระ การถืออดอาหาร การถวายทศางค์ การกล่าวสาบานตัว เป็นต้น พวกฟาริสีบางคนสนใจแต่เรื่องการปฏิบัติตามกฎบัญญัติ แต่ไม่สนใจสภาพฝ่ายจิตวิญญาณ พระเยซูจึงมักจะกล่าวตำหนิคนเหล่านี้อยู่เสมอ (มธ.23) ซึ่งเป็นเหตุให้ฟาริสีพวกนี้ร่วมมือกับพวกสะดูสีเพื่อวางแผนกำจัดพระองค์
พวกฟาริสีมีความเชื่อในเรื่องต่างๆ ที่ไม่ได้บันทึกในหมวดธรรมบัญญัติ (หนังสือ 5 เล่มแรกของพระคัมภีร์เดิม) เช่น การเป็นขึ้นจากตาย วิญญาณ ทูตสวรรค์ (กจ.23:6-8) และยังเชื่อว่าหนังสือเล่มอื่นๆ ในหมวดผู้เผยพระวจนะ และหมวดบทกวี เป็นส่วนหนึ่งของพระคัมภีร์ด้วย
หลังจากกรุงเยรูซาเล็มถูกทำลายในปี ค.ศ.70 พรรคสะดูสี และพรรคเล็กๆ ค่อยๆ สูญสลายไป เหลือแต่พรรคฟาริสี ทำให้ชาวยิวนับตั้งแต่ในสมัยนั้นเป็นต้นมา ต่างพยายามปฏิบัติตามแนวคำสอนของพวกฟาริสีเท่านั้น
หนึ่งในสาวกของพระเยซูอยู่กลุ่มนี้ คือ ซีโมน (พรรคชาตินิยม) ซีลอท กลุ่มนี้เป็นกลุ่มใต้ดิน รักชาติยิว การเข้ามาเป็นสาวกของเขานั้น เจตนาแรกคือการกู้ชาติ ปลดแอกจากอำนาจการปกครองของโรมัน จึงติดตามพระเยซู เพราะคิดว่าพระองค์คือผู้นำเฉกเช่นเดียวกับโมเสส (ปลดปล่อยชาติฮีบรูออกจากอียิปต์)
กลุ่มนี้ สายดาร์กเลยทีเดียว เพราะเป็นมือสังหาร ก่อกวน พร้อมที่จะลอบฆ่าทหารโรมันเมื่อมีโอกาส
ฟาริสี เป็นกลุ่มผู้นำทางศาสนาของชาวยิวที่มีบทบาทสำคัญในปาเลสไตน์ เกิดขึ้นจากกลุ่มคนที่มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะประพฤติตามกฎบัญญัติทุกข้อที่ปรากฏในธรรมบัญญัติของโมเสส
ในสมัยพระคัมภีร์ใหม่ผู้นำทางศาสนาของยิวแบ่งออกเป็นสองพรรคใหญ่ๆ พรรคที่มีจำนวนสมาชิกมากกว่าคือ พรรคฟาริสี อีกพรรคหนึ่งคือพรรคสะดูสี สองพรรคนี้เกิดขึ้นในสมัยที่ประเทศกรีกปกครองปาเลสไตน์ ในราวปี 200 ก่อน ค.ศ.
พวกฟาริสีเคร่งครัดในเรื่องการถือขนบธรรมเนียมประเพณี โดยเฉพาะข้อห้ามต่างๆ พวกเขาถือว่าพระเจ้าไม่พอพระทัยผู้ใดเลยนอกจากพวกเขา พวกเขาจึงไม่ยอมคบกับคนต่างชาติหรือชาวยิวที่ไม่เคร่งศาสนา
พวกฟาริสีพยายามตีความบทบัญญัติและกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้การปฏิบัติ ครอบคลุมการดำเนินชีวิตทุกด้าน จึงเกิดกฎบัญญัติเพิ่มขึ้นอีกหลายร้อยข้อที่ไม่มีในพระคัมภีร์ กลายเป็นบัญญัติข้อหยุมหยิมเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เช่น การถือพิธีล้างชำระ การถืออดอาหาร การถวายทศางค์ การกล่าวสาบานตัว เป็นต้น พวกฟาริสีบางคนสนใจแต่เรื่องการปฏิบัติตามกฎบัญญัติ แต่ไม่สนใจสภาพฝ่ายจิตวิญญาณ พระเยซูจึงมักจะกล่าวตำหนิคนเหล่านี้อยู่เสมอ (มธ.23) ซึ่งเป็นเหตุให้ฟาริสีพวกนี้ร่วมมือกับพวกสะดูสีเพื่อวางแผนกำจัดพระองค์
พวกฟาริสีมีความเชื่อในเรื่องต่างๆ ที่ไม่ได้บันทึกในหมวดธรรมบัญญัติ (หนังสือ 5 เล่มแรกของพระคัมภีร์เดิม) เช่น การเป็นขึ้นจากตาย วิญญาณ ทูตสวรรค์ (กจ.23:6-8) และยังเชื่อว่าหนังสือเล่มอื่นๆ ในหมวดผู้เผยพระวจนะ และหมวดบทกวี เป็นส่วนหนึ่งของพระคัมภีร์ด้วย
หลังจากกรุงเยรูซาเล็มถูกทำลายในปี ค.ศ.70 พรรคสะดูสี และพรรคเล็กๆ ค่อยๆ สูญสลายไป เหลือแต่พรรคฟาริสี ทำให้ชาวยิวนับตั้งแต่ในสมัยนั้นเป็นต้นมา ต่างพยายามปฏิบัติตามแนวคำสอนของพวกฟาริสีเท่านั้น
สะดูสี (ศาโดกซี) กลุ่มผู้นำทางศาสนาของชาวยิวในปาเลสไตน์ ส่วนใหญ่เป็นผู้นำทางการเมืองและมีอิทธิพลในสภายิว
ตระกูลมหาปุโรหิตล้วนอยู่ในพรรคสะดูสี เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญมากในช่วงปี 200 ก่อน ค.ศ. จนถึงปี ค.ศ.70
กลุ่มนี้จะตั้งตนเป็นศัตรูกับพระเยซู พวกเขาปฏิเสธคำสอนและการปฏิบัติทุกอย่างที่ไม่ได้บันทึกไว้ในหมวดธรรมบัญญัติ (หนังสือ 5 เล่มแรกของพระคัมภีร์เดิม)
พวกเขาไม่เชื่อเรื่องการเป็นขึ้นจากตายหรือการรับบำเหน็จรางวัล หรือการรับโทษหลังความตาย สิ่งหนึ่งที่พวกเขาเน้นมากคือ ความมีอิสระเสรีของมนุษย์
ตระกูลมหาปุโรหิตล้วนอยู่ในพรรคสะดูสี เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญมากในช่วงปี 200 ก่อน ค.ศ. จนถึงปี ค.ศ.70
กลุ่มนี้จะตั้งตนเป็นศัตรูกับพระเยซู พวกเขาปฏิเสธคำสอนและการปฏิบัติทุกอย่างที่ไม่ได้บันทึกไว้ในหมวดธรรมบัญญัติ (หนังสือ 5 เล่มแรกของพระคัมภีร์เดิม)
พวกเขาไม่เชื่อเรื่องการเป็นขึ้นจากตายหรือการรับบำเหน็จรางวัล หรือการรับโทษหลังความตาย สิ่งหนึ่งที่พวกเขาเน้นมากคือ ความมีอิสระเสรีของมนุษย์
มีกลุ่มอื่นๆ ในสมัยพระเยซู อีกหลายกลุ่ม ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการเมืองทั้งสิ้น
หนึ่งในสาวกของพระเยซูอยู่กลุ่มนี้ คือ ซีโมน (พรรคชาตินิยม) ซีลอท กลุ่มนี้เป็นกลุ่มใต้ดิน รักชาติยิว การเข้ามาเป็นสาวกของเขานั้น เจตนาแรกคือการกู้ชาติ ปลดแอกจากอำนาจการปกครองของโรมัน จึงติดตามพระเยซู เพราะคิดว่าพระองค์คือผู้นำเฉกเช่นเดียวกับโมเสส (ปลดปล่อยชาติฮีบรูออกจากอียิปต์)
กลุ่มนี้ สายดาร์กเลยทีเดียว เพราะเป็นมือสังหาร ก่อกวน พร้อมที่จะลอบฆ่าทหารโรมันเมื่อมีโอกาส
วันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2560
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)