ค้นหาข้อมูลจากบล็อกนี้

วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2563

อธิษฐานแล้วได้อะไร?

ณ ที่แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ

ขณะที่เด็กวันรุ่น 2 คนเดินผ่านร้านอาหาร ผู้ใหญ่คนหนึ่งนั่งอยู่ที่ร้านอดไม่ได้ ตะโกนถามว่า "ออกไปแล้วได้อะไร?"

เพราะรู้แน่ๆ ว่าเด็กพวกนี้ไปม็อบ เด็กสมัยนี้ ฉะฉาน ไม่ก้มหน้า และปล่อยให้เรื่องนี้ผ่านไปเงียบๆ ก็เลยสวนกลับไปว่า "แล้วที่นั่งอยู่เฉยๆ เนี้ยได้อะไร?"

(**ขอขอบคุณต้นเรื่องจากปากแม่ค้าที่เห็นเหตุการณ์)

"ทำไมคุยเรื่องการเมืองไม่ได้กับคนไทย" เพื่อนมิชชั่นนารีชาวเกาหลีใต้กล่าวด้วยความสงสัย? เขาจึงเล่าเรื่องประสบการณ์ในช่วงวัยรุ่นให้ฟัง

การประท้วงที่เกาหลีใต้ มีทั้งนักศึกษาและประชาชนออกมาประท้วงอย่างกว้างขวาง เพื่อขับไล่รัฐบาลเผด็จการ แน่นอน เขาเป็นคริสเตียน และกำลังเรียนอยู่ที่โรงเรียนพระคริสตธรรม มีการประท้วงเกือบทุกวัน เขาออกไปร่วม เอาน้ำมันใส่ขวด เพื่อเป็นระเบิดเพลิง ไว้ขว้างปาใส่ตำรวจ-ทหารที่ออกมาปราบปรามประชาชน ที่โบสถ์ มีการอธิษฐานเผื่อเรื่องเหตุการณ์การชุมนุม เขาโกรธ และโมโห ที่เพื่อนของเขาไม่ออกมาร่วม เขามองว่าเพื่อนคริสเตียนคนนี้ขี้ขลาดตาขาว อ่อนแอ และ...ฯลฯ มัวแต่อธิษฐานอยู่ได้ มันเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้หรอก

หลายสิบปีต่อมา...

การประท้วงที่เกาหลีใต้ ประสบความสำเร็จ สื่อมวลชน สำนักข่าว มองเห็นความจริง ยอมเสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมา และเข้าร่วมที่จะเปิดเผยความจริง

เกาหลีใต้เป็นประเทศประชาธิปไตย ที่เราเห็นแล้วว่ากฎหมายสามารถเอาผิดกับผู้นำประเทศได้ด้วยขบวนการยุติธรรมทางกฎหมาย ที่ตรวจสอบที่มาที่ไปได้อย่างโปร่งใส

มิชชั่นเกาหลีใต้ท่านนี้ ได้ยกตัวอย่าง อพยพ บทที่ 17 ข้อ 8 -15 เรื่องทำสงครามกับคนอามาเลข

ถ้าโมเสสไม่ยกมือขึ้น (อธิษฐาน) อิสราเอลก็คงไม่ได้รับชัยชนะ แน่นอนการยกมือคนเดียวคงเมื่อยล้า อาโรนและเฮอร์ก็ช่วยยกมือท่านคนละข้าง

(**ขอขอบคุณต้นเรื่องจากเพื่อนมิชชั่นเกาหลีใต้ ต่อมา เพื่อนที่เป็นนักอธิษฐานกลายเป็นนักเทศน์ที่มีชื่อเสียงของเกาหลีใต้ ส่วนผู้ที่ออกมาประท้วงกลายเป็นมิชชั่นนารีหลายคน)

เมื่อดาเนียลอธิษฐาน แม้จะผิดกฎหมายบ้านเมือง จนตัวเองต้องถูกจับโยนไปในถ้ำสิงโต แต่สุดท้าย เยรูซาเล็มได้กลับมารื้อฟื้นบ้านเมืองใหม่ พระวิหารได้รับการบูรณะ

เมื่อเอสเธอร์อธิษฐาน แม้จะเสี่ยงแต่กฎหมายบ้านเมือง ในการล้างเผ่าพันธุ์ชนชาติอิสราเอลของเธอและเธออาจจจะถูกปลดออกจากตำแหน่งราชินี กฎหมายที่ตราแล้วเปลี่ยนไม่ได้ในการอนุญาตให้มีการจับกุมคนยิว แต่เมื่อมีการร่างกฎหมายใหม่เพิ่มเติม โดยอนุญาตให้ชาวยิวป้องกันตัวเอง และต่อสู้คนที่จะมาทำร้ายชาวยิวได้ พวก​เขารับ​มอบ​อำนาจ​ให้​ต่อต้านได้อย่างเต็มที่ 

สุดท้าย ชาวยิวล้างบางคนคิดร้ายได้สำเร็จ จนเกิดเทศกาลปูริม มอบของขวัญให้กันและกัน ฮามาน ผู้ร่างกฎหมายเพื่อทำร้ายคนอื่น ก็ถูกแขวนคอที่ตัวเองสร้างขึ้นมา

แม้แต่ ปิลาต ผู้ปกครองจากโรมัน ที่อนุญาตให้มีการตรึงกางเขนพระเยซู ก็ถูกปลดจากตำแหน่ง เพราะปัญหาการคอรับชั่นของตนเองในกรุงเยรูซาเล็ม

คายาฟาส มหาปุโรหิต (คศ.18-36) ก็ถูกปลดจากตำแหน่งใหญ่ หมดอำนาจวาสนา เพราะโรมันเห็นว่าหมดประโยชน์

ปี คศ. 66 เกิดกบฏชาวยิวขึ้น ช่วงแรกสามารถขับไล่และต่อต้านทหารโรมันได้ แต่ต่อมาใน คศ.70 เยรูซาเล็มถูกทำลาย พระวิหารถูกเผา ชาวยิวกลายเป็นทาส และกระจัดกระจายไป

อย่าไปบังคับใครให้ทำอะไร? ถ้าปากของคุณพูดออกมาว่าไปชุมนุม เพื่อแสดงจุดยืนทาง "ประชาธิปไตย"

แต่คุณเองกลับบังคับคนอื่น ให้ออกไป หรือคิดเหมือนคุณ การกระทำแบบนั้น เขาเรียกว่า "เผด็จการ" เช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น: