ค้นหาข้อมูลจากบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โคโลสีศึกษา ว่าด้วยเรื่องทูตสวรรค์

เรื่องนี้เกิดขึ้นเพราะฉบับแปล 2002 และกลายเป็น 2011 ก็ยังใช้เหมือนเดิม จึงนำมาวิเคราะห์กันครับ

โคโลสี เป็นจดหมายฝากจากเปาโลถึงชาวเมืองที่นั่น

ทูตสวรรค์ที่เมืองนี้คืออะไรกันแน่?


คนในสมัยนั้นยังมีความเชื่อเรื่องเทพเจ้ากรีก
ยูเรนัสคือเทพเจ้าผู้สร้างโลกตามความเชื่อนั้น
เมื่อความเชื่อแบบคริสต์เข้ามาในเมือง
เรื่องนี้จึงยังคงค้างอยู่ เมื่อมาเป็นคริสต์จึงยังความเชื่อแบบนั้นอยู่
คล้ายๆ กับคนไทยที่มาเป็นคริสต์ ยังคงมีนิสัยบางอย่างผสมอยู่ด้วย


ฉบับแปลนี้ คงแปลแบบกลางๆ ไม่ใส่ทัศนะลงไป

แต่เมื่อใส่ทัศนะในเชิงศาสนศาสตร์ลงไปด้วย จึงเป็นแบบนี้
จนใช้มาเรื่อยจนถึงฉบับ 2011 ซึ่งเป็นฉบับปัจจุบัน
ซึ่งคงเป็นปัญหาแน่นอน

เปรียบเทียบกับฉบับแปลไทยอื่นๆ

ลองไปเช็คกับต้นฉบับภาษากรีก ซึ่งไม่เกี่ยวกับพวกภูติผีเลย



วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รูเบนเสียสิทธิ์บุตรหัวปี


ใน ปฐมกาล 35:22
อยู่มาเมื่ออิสราเอลอาศัยอยู่ที่แคว้นนั้น รูเบนไปนอนกับนางบิลฮาห์ภรรยาน้อยของบิดา อิสราเอลก็รู้เรื่องนี้

มีใครเคยสงสัยไหมว่าทำไม รูเบน ถึงไปนอนกับนางบิลฮาห์ บางคนอาจจะคิดว่าก็รูเบนเป็นหนุ่ม บิลฮาห์ก็ยังสาว และเธอก็เป็นเพียงสาวใช้หรือทาสสาว สมบัติของพ่อ ก็คือสมบัติบุครหัวปี เขาจึงใช้สิทธิ์นั้นทันทีที่มีโอกาส สุดท้ายเรื่องก็แดงขึ้น เพราะยาโคบรู้เรื่องนี้

แต่มีเหตุการณ์หนึ่งก่อนหน้านั้นเกิดขึ้น และเป็นที่มาของเรื่องนี้

ปฐมกาล 30:14
ในฤดูเกี่ยวข้าวสาลี รูเบนออกไปที่นาพบมะเขือดูดาอิม
จึงเก็บผลมาให้นางเลอาห์มารดา
ราเชลจึงพูดกับเลอาห์ว่า
“ขอมะเขือดูดาอิมของบุตรชายของพี่ให้ฉันบ้าง”

แน่นอนว่าไม่เคยมีใครอธิบายเหตุการณ์นี้เป็นเรื่องเป็นราวว่า "มะเขือดูดาิอิม" คืออะไร? ทำไมรูเบนเก็บไปให้แม่ของตน และน้ามาขอแบ่งไปใช้บ้าง

ในภาษาอังกฤษเรียก 'MANDRAKE'
ฮีบรูเรียก 'dudaim'
หมายถึง 'apple of Sodom'
หรือ love-apple
ภาษาอาหรับ "Satan's apple"
หรือแปลตรงๆ ว่า "ยาปลุกเซ็กซ์" นั่นเอง บ้างก็ว่าถ้ากินแมนเดร็กเข้าไปจะทำให้มีลูก ตอนนั้นราเชลไม่มีลูกจึงอยากได้บ้าง เพราะเห็นพี่สาวมีลูกตั้งหลายคน


อย่างไม่ต้องสงสัยให้ลึกซึ้ง รูเบนคงกินแมนเดร็กที่ว่าเข้าไปด้วย และเกิดความต้องการ เมื่อหาทางออกไม่ได้ ก็เลยไปลงที่ บิลฮาห์หญิงรับใช้ของน้าราเชล จนยาโคบเองไม่ค่อยจะพอใจในเรื่องนี้ ดังนั้น ลูกของบิลฮาห์จึงเป็นเรื่องคาใจให้ยาโคบยิ่งนัก และเด็กคนนั้นก็คือ "ดาน"

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

CE คืออะไร?


เครื่องหมาย CE ย่อมาจากคำในภาษาฝรั่งเศสว่า “Conformite Europeene" ซึ่งมีความหมายเดียวกับคำใน ภาษาอังกฤษคือ “European Conformity” เดิมทีใช้เครื่องหมาย EC แต่ภายหลังได้เปลี่ยนมาเป็นเครื่องหมาย CE อย่างเป็นทางการเมื่อปี 2536

เครื่องหมาย CE ที่ปรากฏอยู่บนสินค้าเป็นเครื่องหมายที่แสดงการรับรองจากผู้ผลิต (Manufacturer’s Declaration) ว่าสินค้านั้น มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของสหภาพยุโรป การมีเครื่องหมาย CE กำกับบนสินค้าจะทำให้สินค้านั้นสามารถวางจำหน่าย และสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีในเขตเศรษฐกิจยุโรป หรือ European Economic Area (EEA) ซึ่งประกอบด้วยสหภาพยุโรป หรือ European Community (EU) และ สมาคมการค้าเสรียุโรป หรือ European Free Trade Association (EFTA) ยกเว้นประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยสมาชิกแต่ละประเทศจะดำเนินการออกกฎหมายภายในประเทศให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของสหภาพยุโรป หรือ EC Directives ที่กี่ยวข้องกับการใช้เครื่องหมาย CE

สินค้าที่อยู่ในข่ายต้องใช้เครื่องหมาย CE มีสินค้า 23 กลุ่ม ซึ่งจะต้องมีเครื่องหมาย CE จึงจะสามารถวางจำหน่ายและเคลื่อนย้ายภายในเขตเศรษฐกิจยุโรป (EEA) ได้ ซึ่งรวมถึงสินค้านำเข้าด้วย และในแต่ละสินค้าจะมีกฎหมายเฉพาะสินค้า หรือที่เรียกว่า Product Directives ซึ่งให้รายละเอียดข้อกำหนดเฉพาะของแต่ละสินค้า (technical specifications) ที่กำหนดขึ้นมาจากมาตรฐานความสอดคล้อง (Harmonized Standards) ขององค์การมาตรฐานต่างๆ ในยุโรป อาทิ European Committee for Standardization (CEN), European Committee for Electrotechnical Standardization (CENELEC) เป็นต้น โดยสินค้าที่ต้องมีเครื่องหมาย CE มีดังนี้

  1. ระบบและอุปกรณ์เกี่ยวกับการจัดการจราจรทางอากาศ ซึ่งรวมถึงระบบการสื่อสาร ระบบการตรวจสอบระบบการให้ความช่วยเหลืออัตโนมัติในการควบคุมการจราจรทางอากาศ และระบบการให้ทิศทาง รายละเอียดปรากฏใน Directive 93/65/EEC ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2537
  2. อุปกรณ์เครื่องใช้ที่จุดไฟโดยใช้แก๊ส ซึ่งหมายถึงเครื่องใช้ทุกชนิดที่ใช้ในการทำอาหาร ทำความร้อน ผลิตน้ำร้อน ตู้เย็น แสงสว่าง หรือซักล้าง และที่ซึ่งระดับอุณหภูมิของน้ำไม่เกิน 105 องศาเซลเซียส รายละเอียดปรากฏใน Directive 90/396/EEC ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือน มกราคม 2539
  3. ระบบการติดตั้งเคเบิลสำหรับบรรทุกผู้โดยสาร รายละเอียดปรากฏใน Directive 2000/9/EC แต่ยังไม่มีผลใช้บังคับทางกฎหมาย
  4. อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้า หรือโวลต์ต่ำ ซึ่งรวมถึง อุปกรณ์ที่ถูกออกแบบสำหรับการใช้กับระดับแรงดันไฟฟ้าระหว่าง 50-1,000 โวลต์ หรือ 75-1,500 โวลต์ รวมทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวนมากที่ใช้ภายในประเทศและเชิงพาณิชย์ รายละเอียดปรากฏใน Directive 73/23/EEC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือนมกราคม 2540
  5. ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการก่อสร้าง รายละเอียดปรากฏใน Directive 89/106/EEC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2534
  6. อุปกรณ์และระบบป้องกันสำหรับการใช้ในบรรยากาศที่อาจเกิดการระเบิด ซึ่งหมายถึง เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่สามารถทำให้เกิดการระเบิดผ่านแหล่งกำเนิด ที่ทำให้เกิดการเผาไหม้และระบบป้องกันนี้ถูกออกแบบให้สามารถระงับการระเบิดนั้นได้ รายละเอียดปรากฏใน Directive 94/9/EC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2546
  7. วัตถุระเบิดสำหรับพลเมืองใช้ ซึ่งถูกนิยามรายละเอียดในเอกสารข้อเสนอแนะขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตราย รายละเอียดปรากฏใน Directive 93/15/EEC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือนมกราคม 2546
  8. ภาชนะหุงต้มน้ำร้อน (ปริมาณระหว่าง 4 กิโลวัตต์ ถึง 400 กิโลวัตต์ เผาไหม้โดยของเหลวหรือเชื้อเพลงแก๊ส) รายละเอียดปรากฏใน Directive 92/42/EEC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือนมกราคม 2541
  9. ตู้เย็นและเครื่องทำความเย็นใช้ภายในครัวเรือน รายละเอียดปรากฏใน Directive 96/57/EC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่ เดือนกันยายน 2542
  10. ลิฟต์สำหรับขนผู้โดยสารหรือสินค้า รายละเอียดปรากฏใน Directive 95/16/EC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2542 
  11. เครื่องจักรกลทุกชนิดที่มีส่วนประกอบใช้ในการแปรรูป รักษา เคลื่อนย้าย หรือการบรรจุหีบห่อวัสดุรายละเอียดปรากฏใน Directive 1998/37/EC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่ เดือนมกราคม 2538
  12. อุปกรณ์เกี่ยวกับการเดินเรือ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายการเดินเรือระหว่างประเทศ รายละเอียดปรากฏในDirective 96/98/EC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือนมกราคม 2541 
  13. เครื่องมือทางการแพทย์ หมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการวินิจฉัย การ ป้องกัน การติดตาม การรักษา หรือการบรรเทาโรค การบาดเจ็บ หรือความบกพร่องทางร่างกาย ซึ่งรวมถึงการทดแทนแขนขา หรือข้อต่อ และการคุมกำเนิด รายละเอียดปรากฏใน Directive 93/42/EEC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่ เดือนมกราคม 2541
  14. เครื่องมือทางการแพทย์เกี่ยวกับการฝังที่มีลักษณะเป็นกัมมันตภาพรังสี ซึ่งรวมถึงเครื่องมือที่อาศัยแหล่งพลังงานไฟฟ้า หรือ แหล่งพลังงานอื่นๆ นอกเหนือไปจากที่ผลิตได้โดยตรงจากร่างการมนุษย์ รายละเอียดปรากฏใน Directive 90/385/EEC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือนมกราคม 2538
  15. เครื่องมือทางการแพทย์ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรค หมายถึง เครื่องมือที่ ใช้ในการตรวจสอบสิ่งต่างๆ เช่น เลือด เนื้อเยื่อจากร่างกายมนุษย์ รายละเอียดปรากฏใน Directive 98/79/EC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2546 
  16. เครื่องชั่งแบบไม่อัตโนมัติ หมายถึง เครื่องชั่งที่ต้องมีผู้ควบคุมเครื่องใน กระบวนการชั่ง รายละเอียดปรากฏใน Directive 90/384/EEC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือนมกราคม 2546
  17. อุปกรณ์ป้องกันตัวส่วนบุคคล หมายถึง เครื่องมือใดๆ ที่บุคคลใช้ใน การป้องกันความปลอดภัยหรือต่อต้านสิ่งที่เป็นอันตราย รายละเอียดปรากฏใน Directive 89/686/EEC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2538
  18. อุปกรณ์เกี่ยวกับแรงดัน ซึ่งรวมถึงท่อ หรืออุปกรณ์ด้านความปลอดภัย และอุปกรณ์/ส่วนประกอบเกี่ยวกับแรงดันทุกชนิด รายละเอียดปรากฏใน Directive 97/23/EC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2545
  19. อุปกรณ์เกี่ยวกับวิทยุ และอุปกรณ์เกี่ยวกับสถานีโทรคมนาคม รายละเอียดปรากฏใน Directive1999/5/EC ซึ่งในแต่ละตัวสินค้ามีผลใช้ บังคับทางกฎหมายในระยะเวลาที่แตกต่างกัน
  20. เรือขนาดความยาวของลำเรือตั้งแต่ 2.5 – 24 เมตร ที่ใช้สำหรับการ กีฬา หรือ การพักผ่อน รายละเอียดปรากฏใน Directive 95/25/EC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2541
  21. ท่อแรงดัน ซึ่งรวมถึงท่อเชื่อมโลหะที่นำมาใช้บรรจุอากาศ หรือ ไนโตรเจน ณ ความดันที่เกินกว่า 0.5 บาร์ รายละเอียดปรากฏใน Directive 87/404/EEC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2535
  22. ของเล่น หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่มีการออกแบบและทำให้สำหรับเด็กอายุ ไม่เกิน 14 ปีเล่น รายละเอียดปรากฏใน Directive 88/378 ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือน มกราคม 2533
  23. ระบบรถไฟภายในยุโรป รายละเอียดปรากฏใน Directive 96/48/EC ซึ่งยังมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2539
นอกจากนี้ สหภาพยุโรปกำลังอยู่ระหว่างเตรียมการออกกฎระเบียบเครื่องหมาย CE สำหรับสินค้าโลหะมีค่า และ หลอดไฟเรืองแสง อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้ว EU Directives จะให้ระยะเวลาผ่อนผันกับผู้ประกอบการในการ ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎระเบียบนั้น แต่เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาผ่อนผันแล้ว ผู้ผลิตจะต้องใช้เครื่องหมาย CE กำกับ บนสินค้า จึงจะสามารถวางขายได้ในตลาดยุโรป

วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พระคัมภีร์ฉบับแปลไทยในเวอร์ชั่นต่างๆ ใครมีนอกเหนือจากนี้บ้าง


1. เวอร์ชั่นนี้ผู้ตีพิมพ์คือ หอพระคริสตธรรมไทย พิมพ์ในปี 1966 ปกแดง ใช้ภาษาเรียกพระคัมภีร์เล่มต่างๆ ที่คริสเตียนยุคใหม่ไม่ค่อยรู้จัก เช่น เยเนซิส เอ็กโซโด เลวีติโก อาฤธโม พระบัญญัติ ต่อมาพิมพ์รวมเล่มในปี 1992 โดยสมาคมพระคริสตธรรมไทย ปัจจุบันกลุ่มพยานพระยะโฮวาใช้เวอร์ชั่นนี้
2. ฉบับที่ใช้กันมากที่สุดน่าจะเป็นฉบับแปล 1971 ของสมาคมฯ
3. และฉบับล่าสุด 2011 แปลใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงที่ในเรื่องคำเรียกพระเจ้าที่เรียกว่า"พระยะโฮวา" เปลี่ยนเป็น "พระยาเวห์" เพราะทางสมาคมฯทั่วโลกให้มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากการค้นพ้นหนังสือม้วนที่ทะเลตาย อีกทั้งอิสราเอลกลับเป็นประเทศและภาษาฮีบรูกลับมาใช้อีกครั้ง
4. ฉบับอมตธรรมเพื่อชีวิต พิมพ์ปี 1977 ฉบับนี้ชื่อเรียกพระคัมภีร์ใหม่ยังเป็นแบบเดิมเช่น มัดธาย โยฮัน ฟิลิปปอย โกโลซาย ...
5. ฉบับอมตธรรมเพื่อชีวิต แปลใหม่ พิมพ์ปี 1999
6. ฉบับแจกฟรี กีเดียน แปลไทยจาก RSV 1971 ซึ่งภาษาอังกฤษใช้ New King James 1982
7. ฉบับ Jerry and Chareeraat Crow YWAM พิมพ์ปี 1998 โดยกนกบรรณสาร
8. ฉบับอ่านเข้าใจง่าย พิมพ์โดยศูนย์กลางการแปลพระคัมภีร์โลก พิมพ์ปี 2002 ฉบับนี้โดดเด่นตรงที่ใช้ภาษาปัจจุบัน เช่นคุณ หรือผม พระเยซูเรียกตัวเองว่า "ผม" เรียกผู้สนทนาด้วยว่า "คุณ" หรือ "ท่าน"
9. ฉบับไทยคิงเจมส์ พิมพ์ปี 2006 แจกฟรีเหมือนกัน (จนมีใบปลิวโจมตีเวอร์ชั่นนี้ ไว้มาเล่าให้ฟังครับ)
10. ฉบับแปลของคาทอลิก เป็นพระคัมภีร์เดิม แบ่งเป็น 4 เล่ม คือ ปัญจบรรพ (2006) ประวัติศาสตร์ (2008) สารบบที่สอง (2007) ปรีชาญาณ (2009)
11. ฉบับพระคัมภีร์ใหม่ พิมพ์ครั้งแรกปี 2002 โดยคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์
12. ฉบับประชานิยม เป็นของสมาคมพระคริสตธรรมไทย ฉบับนี้เป็นคำกลอนอ่านแล้วเพลินๆ ครับ

อาจจะมีนอกเหนือจากที่ผมสะสมหรือพบเจอ ไปขอแลกเขามาบ้าง ก็เชิญท่านทั้งหลายมาแบ่งปันกันครับ